cpu cooler หรือพัดลมระบายความร้อน มีหน้าที่หลักในการช่วยลดอุณหภูมิของ CPU โดยจะมีการทำงานหลากหลายรูปแบบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน เช่น การระบายความร้อนด้วยอากาศหรือน้ำ ซึ่งบางรุ่นอาจใช้ท่อ หรือระบบน้ำหล่อเย็นเพื่อช่วยให้การระบายความร้อนมีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นสำหรับการใช้งานทุกรูปแบบ ตั้งแต่การทำงานทั่วไป จนถึงการใช้เล่นเกม หรืองานเฉพาะทาง เช่น งานกราฟิก หรือตัดต่อวิดีโอ เป็นต้น
และในบทความนี้ เราได้รวบรวมแนวทางการเลือก cpu cooler ที่ต้องดูจากลักษณะการใช้งานเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การใช้งานคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม หรือทำงานเฉพาะทาง และการใช้งานทั่วไป เช่น การทำงานเอกสาร หรือการเปิดเบราว์เซอร์ ที่เน้นการเปิดใช้งานโปรแกรมพื้นฐานที่ไม่ซับซ้อน โดยแต่ละประเภทต้องการคุณสมบัติของ cpu cooler ที่แตกต่างกัน
cpu cooler คืออะไร ?
cpu cooler คือ อุปกรณ์ที่ช่วยระบายความร้อนให้กับชิป CPU ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การทำงานของคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยยืดอายุการใช้งานของ CPU ให้นานขึ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooling)
นำความร้อนผ่านซิลิโคนไปยังแกนโลหะ ก่อนจะกระจายสู่ครีบโลหะที่เรียงซ้อนกัน เพื่อช่วยลดความร้อนโดยการใช้ลม จากนั้นความร้อนที่เหลือจะถูกส่งต่อไปยังพัดลมเพื่อเป่าลมร้อนออก ซึ่งการระบายความร้อนด้วยอากาศจะมีด้วยกันอยู่ 2 รูปแบบย่อย คือ แบบผ่าน Heatsink มักมาพร้อมกับตัว CPU (Heatsink Stock Cooler) พร้อมพัดลมในตัว และ แบบผ่าน Heatpipe ที่มีท่อนำความร้อนขนาดใหญ่พร้อมกับพัดลม
2. ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (Liquid Cooling)
นำความร้อนจาก CPU ออกทางฟินอะลูมิเนียม หรือหม้อน้ำ โดยมีพัดลมช่วยเป่าไล่อากาศร้อนออกไป เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนการระบายความร้อนด้วยอากาศ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบย่อย ได้ดังนี้
-
-
-
ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำแบบปิด (Closed Loop Water Cooling System)
-
-
น้ำจะไหลผ่านท่อที่สัมผัสกับชิป CPU เพื่อถ่ายเทความร้อน ก่อนจะเข้าสู่หม้อน้ำเพื่อระบายความร้อนออก และหมุนเวียนกลับมาใช้งานใหม่ ระบบนี้จะเป็นแบบสำเร็จรูปที่สามารถซื้อมาใช้งานได้ทันที แถมยังติดตั้งง่าย และเหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
-
-
-
ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำแบบเปิด (Open Loop Water Cooling System)
-
-
ระบบนี้จะคล้ายกับระบบแบบปิด แต่จะสามารถปรับแต่งรูปแบบได้ตามความต้องการ เป็นที่นิยมมาก เพราะสามารถตกแต่งให้มีสีสันสวยงาม และยังระบายความร้อนให้กับชิ้นส่วนอื่น ๆ เช่น CPU , VGA และ RAM เป็นต้น แต่จะมีราคาที่สูง และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมาติดตั้ง
3. ระบบระบายความร้อนด้วยไนโตรเจนเหลว (Liquid Nitrogen Cooling System)
ปัจจุบันยังไม่ได้มีไว้ใช้งานสำหรับบุคคลทั่วไป เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่าง ส่วนมากจะใช้กับผู้ที่ต้องการ Overclock อุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำแบบเปิดกับแบบปิด แบบไหนดีกว่ากัน
ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ หากถามว่าระหว่างแบบเปิดกับแบบปิด แบบไหนดีกว่ากันนั้น ทั้ง 2 แบบจะมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกัน
ระบบแบบปิด จะมีจุดเด่นในเรื่องของความสะดวกสบาย เพราะเป็นระบบสำเร็จรูปที่ออกแบบมาให้พร้อมใช้งาน เพียงแค่ติดตั้ง หมดห่วงในเรื่องของการดูแลรักษา เช่น น้ำระเหย หรือฝุ่นสะสม นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นในการปรับแต่ง เช่น ไฟ RGB หรือการจัดวางหม้อน้ำตามต้องการ ในส่วนของด้านประสิทธิภาพ การระบายความร้อนถือว่าดีถึงดีมาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับราคาและสเปคของแบบปิดนั้น ๆ ซึ่งจะต่างจากแบบเปิด
ระบบแบบเปิด ต้องการความพิถีพิถันมากกว่า เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง เช่น การรั่วของท่อ ความแข็งแรงของระบบแรงดัน น้ำในหม้อพัก และการดูแลรักษาระบบโดยรวม อย่างไรก็ตาม ระบบแบบเปิดมีข้อได้เปรียบในเรื่องของประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่เหนือกว่า ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ เช่น การกำหนดพื้นที่ที่ต้องการระบายความร้อนหรือการเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น
วิธีการเลือกใช้งาน cpu cooler
1. เลือก cpu cooler Air Cooling หรือ Liquid Cooling ที่ปรับแต่งได้ (สำหรับ PC ที่ใช้งานหนัก เช่น เล่นเกม ทำงานเฉพาะทาง)
สำหรับการใช้งานหนัก ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม หรือทำงานเฉพาะทาง แนะนำให้เลือก Air Cooling หรือ Liquid Cooling ตามขนาดของช่องใส่ CPU ที่มอนิเตอร์ และสามารถปรับแต่งการทำงานของอุปกรณ์ได้
-
-
-
เลือก Air Cooling หรือ Liquid Cooling ตามขนาดของช่องใส่ CPU
-
-
สำหรับผู้ที่เล่นเกม หรือทำงานเฉพาะทาง เช่น งานกราฟิก งานตัดต่อวิดีโอ หรืองานที่ต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ค่อนข้างหนักเป็นเวลานาน แนะนำให้เลือก cpu cooler ที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน โดยสามารถเลือกได้ระหว่างระบบระบายความร้อนด้วยอากาศหรือน้ำ ทั้งนี้ ควรตรวจสอบขนาดและความเข้ากันได้ของช่องติดตั้ง CPU กับ cpu cooler ตามข้อมูลจากผู้ผลิตสินค้า
และกรณีที่เลือกใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ สามารถเลือกได้ทั้งแบบระบบปิดและระบบเปิด หากเน้นการใช้งานที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ ควรเลือกแบบระบบปิด แต่หากต้องการความสวยงามเพิ่ม และประสิทธิภาพสูงสุด ควรเลือกระบบแบบเปิด และแนะนำให้เลือกใช้หม้อน้ำอย่างน้อย 2 ตอน มีความเร็วพัดลมประมาณ 2000 RPM ขึ้นไป พร้อม Fan Airflow 60 CFM ขึ้นไป และ Pump Speed 3200 RPM เพื่อให้ใช้งานได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง
-
-
-
เลือก cpu cooler ที่มอนิเตอร์ และสามารถปรับแต่งการทำงานของอุปกรณ์ได้
-
-
การมอนิเตอร์และปรับแต่งการทำงานของ cpu cooler จะช่วยให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างราบรื่น โดยการมอนิเตอร์ส่วนใหญ่มักเป็นแบบเรียลไทม์ ซึ่งแสดงข้อมูลสำคัญ เช่น อุณหภูมิของ CPU สถานะการทำงานของพัดลม และการทำงานของไฟ อีกทั้งยังช่วยให้สามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การปรับแต่งยังรวมถึงฟังก์ชั่นการตั้งค่ารอบพัดลม และการควบคุมชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อรองรับการทำงานหนักในช่วงที่ CPU มีการประมวลผลสูง ซึ่งอาจทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น การตั้งค่าระบบระบายความร้อนให้เหมาะสมจะช่วยลดความร้อนสะสม และทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. เลือก cpu cooler แบบ Air Cooling ที่ติดมากับ CPU หรือ Heatpipe (สำหรับ PC ที่ใช้งานทั่วไป เช่น ทำเอกสาร เปิดเบราเซอร์)
สำหรับใช้งานทั่วไป เช่น การพิมพ์เอกสาร หรือการเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ไม่ได้เน้นใช้งานหนัก หรือเฉพาะทางที่ต้องมีความแรงสูง สามารถใช้ cpu cooler ที่มาพร้อมกับเครื่องได้ เนื่องจากเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไป อย่างไรก็ตาม หากต้องการเปลี่ยนไปใช้ cpu cooler แยก ควรเลือกแบบที่มี Heatpipe อย่างน้อย 4 ท่อ ความเร็วพัดลมไม่ต่ำกว่า 1500 RPM และมี Fan Airflow ตั้งแต่ 45 CFM ขึ้นไป เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน และช่วยระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เลือก cpu cooler ให้ตรงกับขนาดของช่องใส่ CPU ของรุ่นที่ใช้
สิ่งแรกที่จำเป็นต้องตรวจสอบก่อนเลือก CPU Cooler คือขนาดของช่องใส่ CPU เพราะแต่ละยี่ห้อหรือแต่ละรุ่นอาจมีลักษณะ หรือแพทเทิร์นของช่องใส่หรือขาเสียบที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีขนาดและช่องที่มีการออกแบบและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น หาก CPU Cooler ที่เลือกใช้ไม่ตรงรุ่น ขนาด หรือแพทเทิร์นไม่พอดี อาจทำให้ใช้งานไม่ได้ สามารถเปรียบเทียบหรือตรวจสอบได้จากคุณสมบัติของ CPU และ CPU Cooler หรืออาจสอบถามร้านค้าเพิ่มเติม
4. เลือก cpu cooler ที่ใช้ไฟ A-RGB หากต้องการตกแต่งให้สวยงาม
สิ่งแรกที่ควรตรวจสอบก่อนเลือก cpu cooler คือขนาดและรูปแบบของช่องติดตั้ง เนื่องจากแต่ละยี่ห้อหรือแต่ละรุ่นจะมีลักษณะหรือแพทเทิร์นของช่องยึดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขนาดและการออกแบบช่องติดตั้งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากเลือก cpu cooler ที่ไม่รองรับกับรุ่นหรือขนาดของ CPU อาจทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้น ควรตรวจสอบความเข้ากันได้ระหว่าง CPU และ cpu cooler ได้จากคุณสมบัติ หรือปรึกษาร้านค้าก่อนตัดสินใจซื้อ
5. ตรวจสอบทิศทาง และตำแหน่งของพัดลมและหม้อน้ำ cpu cooler ให้เหมาะกับขนาดเคส
เคสจะมีด้วยกันอยู่หลากหลายขนาด และแต่ละเคสจะมีการออกแบบตำแหน่งสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งของพัดลม หม้อน้ำ ช่องระบายความร้อน หรือรูระบายอากาศ บางรุ่นอาจมีข้อจำกัดในการติดตั้งอุปกรณ์บางประเภท ดังนั้น หากเลือกซื้อ cpu cooler ควรคำนึงถึงขนาด และลักษณะของเคสว่าเพียงพอและรองรับการติดตั้งได้หรือไม่ รวมถึงการจัดวางอุปกรณ์สำคัญต่าง ๆ อย่างพัดลมและหม้อน้ำ ควรตรวจสอบว่าตำแหน่งเหล่านี้เหมาะสมกับเคสหรือไม่ หากตำแหน่งติดตั้งไม่เหมาะสม อาจทำให้ระบายอากาศได้ไม่ดี และส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของชิ้นส่วนอื่น ๆ ได้
สรุป
cpu cooler ถือเป็นอุปกรณ์อีกตัวที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากมีความสำคัญในการช่วยให้ CPU ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากเลือก cpu cooler ที่คุณภาพไม่ดี หรือไม่ตรงกับความต้องการใช้งาน รวมถึงความเข้ากันได้กับอุปกรณ์อื่น ๆ อย่างเคส หรือชิ้นส่วนภายในเคส อาจทำให้คอมพิวเตอร์เกิดปัญหาขึ้นระหว่างการใช้งานได้
* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง