บทความข่าวสารไอที

แรม มีหน้าที่ทำอะไร ใช้เท่าไหร่ถึงจะเหมาะกับการใช้งาน

แรม มีหน้าที่ทำอะไร ใช้เท่าไหร่ถึงจะเหมาะกับการใช้งาน

แรม เป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม และสามารถเก็บข้อมูลแบบชั่วคราวในขณะที่มีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงอยู่เท่านั้น โดยจะเก็บข้อมูลจำพวกคำสั่ง และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เรียกใช้งาน หรือระหว่างพักไว้ที่ตัวเองเพื่อรอ CPU เรียกข้อมูลไปประมวลผลอีกที วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมกันว่า แรมมีบทบาทสำคัญอย่างไร ควรเลือกใช้งานขนาดเท่าไหร่ และควรใช้เท่าไหร่ถึงจะเหมาะกับการใช้งานมากที่สุด

 

แรม มีหน้าที่ทำอะไร ?

แรม มีหน้าที่เก็บข้อมูลชั่วคราวเท่านั้น โดยจะเก็บข้อมูลจากโปรแกรมที่เราเปิดใช้งาน หรือดึงขึ้นมาจากอุปกรณ์เก็บข้อมูลหลักอย่าง HDD และ SSD เพื่อนำมาพักไว้ในตัวเองก่อน รวมทั้ง OS ที่เราเปิดมาใช้ ทั้งนี้ เพื่อให้ CPU เรียกข้อมูลในส่วนนี้ไปประมวลผลต่ออีกที และส่งกลับมาที่ตัวแรมอีกครั้ง ก่อนจะส่งต่อไปยังอุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพ , ลำโพง หรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

 

เนื่องจากแรมมีความเร็วที่สูงกว่า HDD และ SSD ทั่วไป ทำให้สำคัญมาก เพราะหากแรมยิ่งเยอะ จะยิ่งทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เร็วขึ้นเท่านั้น และสามารถเปิดใช้งานโปรแกรมหลาย ๆ ตัว หรือเปิดเว็บหลาย ๆ หน้าต่างพร้อมกันได้อย่างไหลลื่น หากเครื่องที่ใช้อยู่มีแรมที่น้อยมากจะไม่สามารถเปิดใช้งานพร้อม ๆ กันได้ และอาจเกิดอาการเครื่องค้าง หรือเครื่องแฮงค์ตามมานั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม แรมไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อความเร็วของคอมพิวเตอร์ CPU ก็มีส่วนในการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ มากมาย หากแรมและ CPU ไม่สอดคล้องกัน อาจทำให้เกิดการประมวลผลข้อมูลล่าช้า แต่ก็ต้องคำนึงถึงตัว BUS RAM ด้วย เพราะหากความจุแรมเยอะ แต่ BUS Speed ต่ำ ก็อาจทำให้การส่งข้อมูลช้าลง ส่งผลให้การทำงานของเครื่องไม่เต็มประสิทธิภาพตามที่ควรจะเป็น

 

แรม มีขนาดเท่าไหร่บ้าง

ขนาดหรือความจุของแรมจะมีให้เลือกตั้งแต่ 4 GB จนถึง 256 GB ซึ่งในปัจจุบัน ขนาดที่เป็นขั้นต่ำควรเลือกที่ 8 GB ขึ้นไป โดยเราได้รวบรวมขนาดยอดนิยมมาแนะนำ พร้อมอธิบายว่าแต่ละขนาดนั้นเหมาะกับการใช้งานประเภทใดบ้าง ดังนี้

 

RAM 8 GB

แรม มีหน้าที่ทำอะไร ใช้เท่าไหร่ถึงจะเหมาะกับการใช้งานRAM 8 GB สามารถเปิดหลายโปรแกรม และเปิดหลายเว็บพร้อมกันได้ เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไป และเล่นเกมในสเปคที่ไม่สูงมากนัก

 

RAM 16 GB

แรม มีหน้าที่ทำอะไร ใช้เท่าไหร่ถึงจะเหมาะกับการใช้งานRAM 16 GB จะเน้นใช้งานเฉพาะด้าน อย่างการเล่นเกมสเปคแรง ๆ ตัดต่อวิดีโอ หรือทำงานด้านกราฟิก ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานนั้นลื่นไหลมากขึ้น และยังเพิ่มความแรงให้กับคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย

 

RAM 32 GB

แรม มีหน้าที่ทำอะไร ใช้เท่าไหร่ถึงจะเหมาะกับการใช้งานRAM 32 GB เป็นการประมวลขึ้นสูง สำหรับใครที่ตัดต่อวิดีโอด้วยความละเอียดสูง เรนเดอร์ภาพบ่อย ๆ หรือเล่นเกม ตัวนี้ถือว่าคุ้มค่ากับการใช้งานอย่างแน่นอน

RAM 64 GB

แรม มีหน้าที่ทำอะไร ใช้เท่าไหร่ถึงจะเหมาะกับการใช้งานRAM 64 GB เป็นอีกตัวที่ได้รับความนิยม เหมาะสำหรับคนที่ชอบใช้งานคอมพิวเตอร์หนักและเยอะสุด ๆ สามารถเปิดได้หลายโปรแกรม และทำหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันได้ หากใครที่ต้องการคอมสเปคสูง ๆ บอกเลยว่าห้ามพลาด และอย่าลืมอัพตัวอื่น ๆ ให้ซัพพอร์ตกันด้วย เพื่อประสิทธิภาพที่คุ้มค่ามากที่สุด

 

ใช้แรมเท่าไหร่ ถึงจะเหมาะกับการใช้งาน

หากถามว่า แรม ควรใช้เท่าไหร่ ถึงจะเหมาะกับการใช้งาน ในหัวข้อนี้เราจะยกตัวอย่างโดยแบ่งเป็นกลุ่มการใช้งานคร่าว ๆ 3 ระดับ ดังนี้

 

1. สำหรับใช้งานทั่วไป

เหมาะสำหรับเปิดเว็บ เล่นเน็ต ดูหนัง ฟังเพลง หรือทำงานพวกโปรแกรม Microsoft Office ต่าง ๆ และควรมีความจุเริ่มต้นที่ 8 GB ขึ้นไป เพราะในปัจจุบัน พวกคอนเทนต์หรือไฟล์ต่าง ๆ จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ความละเอียดสูงขึ้น ทำให้ต้องใช้พื้นที่บนตัวแรมมากขึ้นตามไปด้วย

 

2. สำหรับใช้งานแบบกลาง ๆ

เหมาะสำหรับทำงาน หรือกราฟิกเบื้องต้น สามารถเปิดใช้งานหลายโปรแกรม หรือหลายหน้าต่างได้เยอะขึ้น รวมถึงเล่นเกมบางครั้ง ควรมีความจุเริ่มต้นที่ 16 GB ขึ้นไป

 

3. สำหรับใช้งานเฉพาะทาง หรือระดับที่สูงไปอีกขั้น

เหมาะสำหรับใช้ทำกราฟฟิกระดับกลางถึงระดับสูงอย่างพวกงานตัดต่อวิดีโอ หรืองานเขียน 3 มิติ (3D) ต่าง ๆ ซึ่งความจุไม่ควรต่ำกว่า 16 GB แนะนำเป็น 32 GB ขึ้นไป จะเหมาะกว่า เพราะส่วนใหญ่แล้วเรามักเปิดใช้งานหลายโปรแกรมพร้อมกัน ทำให้มีการเรียกใช้พื้นที่ของแรมเยอะขึ้นนั่นเอง

 

สรุป

แรม ถือว่าสำคัญมากในระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเป็นหน่วยความจำหลักที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือเป็นจุดพักข้อมูลในขณะเปิดใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีด้วยกันอยู่หลายประเภท เช่น SRAM , DRAM , SDRAM และ DDRRAM โดยแต่ละแบบจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป ในปัจจุบัน DDRRAM จะได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีความเร็วสูง และตอบสนองได้อย่างดีเยี่ยม

 

* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง