บทความข่าวสารไอที

ประเภทของ SSD และผลต่อการเล่นเกม

ประเภทของ SSD และผลต่อการเล่นเกม

การเลือก SSD สำหรับจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์นั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญ แต่การประเมินประสิทธิภาพของแต่ละไดร์ฟนั้นก็ไม่ง่ายเหมือนการตรวจสอบ CPU และ GPU ความเร็วของหน่วยความจำที่ต่ำจะทำให้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงทำงานช้าลงได้ แม้ว่าจะมี CPU ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูง แต่บ่อยครั้งที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เพราะต้องใช้เวลารอข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ที่ต้องหมุนจานแม่เหล็กเพื่อดึงข้อมูล แม้จะใช้เวลาไม่นาน แต่ก็นานพอที่ทำให้ CPU เสียเวลาในการรอข้อมูล

 

ประเภทของ SSD

ประเภทของ SSD นั้นสามารถแบ่งตามรูปแบบโครงสร้าง และรูปแบบการทำงาน ซึ่งจะสามารถแยกออกมาได้ ดังนี้

 

1. SSD SATA แบบ 2.5 นิ้ว

เป็น SSD ที่มีรูปร่างคล้ายกับฮาร์ดดิสก์แบบดั้งเดิม แต่จะมีขนาดที่บางและเพรียวกว่า โดยใช้การเชื่อมต่อผ่านสาย SATA เหมือนเดิม หากเคยใช้ฮาร์ดดิสก์ SATA อยู่แล้ว สามารถนำ SSD แบบนี้มาใช้งานได้เลย ทั้งนี้ อาจต้องซื้อ Bay (ตัวถาดยึด) ในการช่วยติดตั้ง เนื่องจากขนาดของ SSD จะเล็กกว่าช่องเสียบฮาร์ดดิสก์แบบปกติ ซึ่งเคสคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะมีช่องสำหรับติดตั้ง SSD แบบนี้มาให้แล้ว

 

2. SSD Add-In Card (AIC) / SSD PCIe

SSD ประเภทนี้จะถูกเสียบลงบนช่อง PCI Express bus โดยปกติจะใช้สำหรับการ์ดจอ ซึ่งมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่สูงกว่าการเชื่อมต่อแบบ SATA อย่างมาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างเช่นกัน หากเมนบอร์ดมีช่อง PCIe จำนวนจำกัด อาจต้องใช้ช่องเหล่านั้นสำหรับการ์ดจอ หรือในกรณีที่เคสมีพื้นที่จำกัด ก็อาจไม่สามารถติดตั้ง SSD ประเภทนี้ได้

 

3. M.2 SSD

ประเภทของ SSD และผลต่อการเล่นเกมSSD แบบ M.2 จะมีหน้าตาที่คล้าย ๆ กับแรม และด้วยความที่มีขนาดเล็ก ทำให้เป็นที่นิยมในโน้ตบุ๊ค สามารถใช้งานในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ได้ โดย M.2 มักมีขนาดกว้าง 22 มิลลิเมตร และยาว 80 มิลลิเมตร ซึ่งสามารถดูได้จากรหัสของตัว SSD เช่น M.2 2280 ซึ่งหมายถึงขนาดดังกล่าว โครงสร้างของ M.2 จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามมาตรฐาน Protocol ที่ใช้ ได้แก่ NVMe M.2 และ SATA M.2

 

* สังเกตได้ง่าย ๆ คือ SATA M.2 จะมีเขี้ยวเชื่อมต่อ 3 แง่ง ส่วน NVMe M.2 จะมีแค่ 2 แง่ง เท่านั้น

 

ประเภทของ NAND

SSD จะใช้ NAND Flash Memory ซึ่งประกอบไปด้วย เซล (Cell) สำหรับเก็บข้อมูลแทนที่จานแม่เหล็กในฮาร์ดดิสก์ในช่วงเริ่มต้น SSD สามารถเก็บข้อมูลได้เพียง 1 บิต / เซล เรียกว่า SLC (Single Level Cell) แต่ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้เซลแต่ละอันสามารถแบ่งเป็นหลายชั้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถบรรจุข้อมูลได้มากขึ้น หรือเก็บบิตได้หลายบิตต่อเซล ส่งผลให้มีความจุสูงขึ้น และลดต้นทุนการผลิต ทำให้ราคาของ SSD ลดลง ปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลายประเภทให้เลือกใช้ดังนี้

      • SLC (Single Level Cell) เก็บได้ 1 บิต / เซล
      • MLC (Multi Level Cell) เก็บได้ 2 บิต / เซล
      • TLC (Triple Level Cell) เก็บได้ 3 บิต / เซล
      • QLC (Quad Level Cell) เก็บได้ 4 บิต / เซล
      • PLC (Penta Level Cell) เก็บได้ 5 บิต / เซล

SSD กับการเล่นเกม

SSD คืออุปกรณ์ที่มีวงจรฝังในตัวโดยไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ ซึ่งใช้หน่วยความจำแฟลช NAND แทนการใช้สื่อแม่เหล็กเหมือนกับ HDD โดย SSD จะสามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง และมีความหน่วงต่ำเมื่อเทียบกับ HDD หากอัปเกรดจาก HDD เป็น SSD ที่มีประสิทธิภาพสูง จะเห็นได้ถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนในประสิทธิภาพ เช่น ความเร็วในการบู๊ต PC ที่เร็วขึ้น ประกอบด้วยการกระตุกที่เกิดจากการดึงทรัพยากรจากพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทำให้เกิดน้อยลง

 

เล่นเกมผ่าน SSD ดียังไง

SSD เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในการใช้งานกับ PC สำหรับเล่นเกม และคาดว่าจะกลายเป็นมาตรฐานสำหรับการเล่นเกมบนคอนโซลในอนาคต โดยมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ SSD เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยข้อดีสำหรับการเล่นเกมผ่าน SSD จะมีด้วยกันดังนี้

 

      1. การติดตั้ง SSD ใน PC ช่วยให้เวลาในการบู๊ต OS รวดเร็วขึ้น เพราะ PC ที่ใช้ SSD จะบู๊ตได้ในเวลาเพียงเศษเสี้ยวหากเทียบกับ HDD ความเร็วในการส่งข้อมูลที่สูงกว่าของ SSD จะช่วยลดเวลารอให้ระบบทำงานพร้อมใช้งานก่อนที่จะเริ่มเล่นเกมหรือใช้งานอย่างอื่น
      2. ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง SSD และ HDD คือเวลาในการโหลดที่เร็วกว่า โดยเฉพาะเมื่อต้องรอเกมโหลด ประโยชน์ของ SSD จะช่วยให้ประหยัดเวลาได้หลายนาทีในระหว่างการโหลดเกมแต่ละระดับ และในระยะยาวยังช่วยลดเวลาในการรอคอยได้เป็นชั่วโมงอีกด้วย
      3. การเล่นเกมที่ราบรื่นขึ้น สามารถทำได้โดยการอัปเกรดจาก HDD เป็น SSD เนื่องจากเกมบางประเภท โดยเฉพาะเกมที่เปิดโลกกว้าง มีการโหลดพื้นที่ หรือพื้นผิวใหม่ระหว่างการเล่น ซึ่งต้องการการอ่านและเขียนข้อมูลเป็นจำนวนมาก การใช้งาน SSD จะช่วยลดเวลาในการอ่าน-เขียนข้อมูล และความหน่วงที่เกิดจากการหมุนของจานแม่เหล็กใน HDD ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการกระตุกในการเล่นเกม แม้ว่าการอัปเกรด SSD จะไม่เพิ่ม FPS โดยตรง แต่จะช่วยยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมที่มีการโหลดข้อมูลบ่อย ๆ ให้มีความราบรื่นขึ้น

วิธีการเลือก SSD สำหรับเล่นเกม

เมื่อผู้พัฒนานำเทคโนโลยี I / O ไปป์ไลน์ใหม่ที่ใช้ Bandwidth ของอุปกรณ์ NVMe มาใช้ การติดตั้งไดร์ฟ NVMe ใหม่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการเล่นเกมอย่างเห็นได้ชัด การอัปเกรดนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้การใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีความพร้อม แต่ยังยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่การเลือก CPU หรือ GPU ถือเป็นปัจจัยหลักในการประกอบ PC

 

สรุป

การอัปเกรด SSD สำหรับเล่นเกม ไม่เพียงแค่ช่วยให้การโหลดเกมเร็วขึ้น แต่ยังทำให้การเล่นเกมราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องรอนาน หรือเจออาการกระตุกระหว่างเกม สำหรับเหล่าเกมเมอร์ที่ต้องการประสบการณ์ที่ดีที่สุด การเลือกซื้อ SSD คุณภาพดีจะช่วยให้เพลิดเพลินกับเกมได้มากขึ้น และไม่ต้องกังวลในเรื่องของการโหลดเกม หรือการบู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ช้าอีกต่อไป

 

* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง