Micro SD Card เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ อย่างรูปภาพ , วิดีโอ , เพลง หรือไฟล์อื่น ๆ ที่ต้องการจัดเก็บในอุปกรณ์ เช่น กล้องวงจรปิด , สมาร์ทโฟน , กล้องถ่ายรูป , โดรน และกล้องติดรถยนต์ แม้จะมีขนาดที่เล็กเพียง 15 x 11 มิลลิเมตร แต่บอกเลยว่าความจุและความเร็วในการอ่าน – เขียนนั้นสูง ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการเลือกซื้อ SD Card พร้อมวิธีการดูแลรักษา เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
ความแตกต่างของ Micro SD Card กับ SD Card
Micro SD Card กับ SD Card เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมสูง แต่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของขนาดและการใช้งาน ดังต่อไปนี้
-
-
-
Micro SD Card
-
-
Micro SD Card จะมีขนาดเล็กเพียง 15 x 11 mm. ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น สมาร์ทโฟน , กล้องแอ็กชั่น หรือโดรน และแม้ว่าจะมีขนาดเล็ก แต่รองรับความจุสูง และรองรับความเร็วในการอ่าน-เขียนข้อมูลได้ดี นอกจากนี้ ยังสามารถใช้งานกับอุปกรณ์ที่รองรับ SD Card ผ่านอะแดปเตอร์ได้อีกด้วย
-
-
-
SD Card
-
-
SD Card จะมีขนาด 32 x 24 mm. ซึ่งจะใหญ่กว่า มักใช้กับกล้องถ่ายรูป , กล้องวิดีโอ และคอมพิวเตอร์ มีความจุและความเร็วที่สูง เหมาะสำหรับงานที่ต้องการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และโอนถ่ายไฟล์รวดเร็ว เนื่องจากขนาดที่ใหญ่กว่า จึงไม่เหมาะกับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก
วิธีการเลือกซื้อ Micro SD Card
การนำ Micro SD Card มาใช้จัดเก็บข้อมูล แนะนำให้ตรวจสอบรายละเอียดประกอบไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นความจุ ความเร็วในการอ่าน-เขียน หรือปัจจัยอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วยต่อไปนี้
1. เลือกจากประเภทและความจุของ Micro SD Card
ปัจจุบัน Micro SD Card ที่วางจำหน่ายจะมีความจุที่ 2 GB ถึง 2 TB โดยความจุจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Micro SD ความจุสูงสุด 2 GB , Micro SDHC ความจุสูงสุด 4 GB – 32 GB และ Micro SDXC ความจุสูงสุด 64 GB ขึ้นไป ผู้ใช้สามารถเลือกตามปริมาณ หรือขนาดไฟล์ที่ต้องการจัดเก็บได้
-
-
-
-
- Micro SD Card สำหรับใช้เก็บไฟล์ความจุต่ำ
ต้องบอกว่าเป็น Micro SD Card ประเภทแรกที่ผลิต และถูกวางจำหน่ายเพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลภายนอก ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานกับสมาร์ตโฟนรุ่นเก่า ๆ เนื่องจากเป็น Micro SD Card รุ่นแรก จึงมีความจุสูงสุดที่ 2 GB และมีความเร็วในการอ่าน-เขียนที่ 25 MB/s ซึ่งปัจจุบันมักไม่นิยมนำมาใช้งาน เพราะไม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนทั่วไปแล้ว - Micro SDHC สำหรับสมาร์ทโฟน กล้องดิจิทัล หรือแท็บเล็ต ที่ต้องการความจุมากขึ้น
Micro SDHC ได้ถูกพัฒนามาจาก Micro SD อีกที จะมีความจุตั้งแต่ 4 – 32 GB นิยมนำมาใช้งานกับสมาร์ทโฟน กล้องดิจิทัล หรือแท็บเล็ตรุ่นใหม่ ๆ เนื่องจากรองรับไฟล์แบบ FAT32 เท่านั้น ซึ่งอุปกรณ์รุ่นเก่าจะไม่รองรับไฟล์ประเภทนี้ ตัวการ์ดจะมีคุณสมบัติการโอนถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วที่ 50 MB/s ถึง 150 MB/s ถือว่ามีความเร็วในการโอนถ่ายพอสมควร และยังรองรับการโอนไฟล์ขนาดใหญ่ได้ ทำให้ปัจจุบันยังถูกนำมาใช้งานกันค่อนข้างมาก - Micro SDXC สำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการความจุสูง (กล้องวงจรปิด / กล้องติดรถยนต์ / กล้องวิดีโอ / อุปกรณ์เกม)
Micro SDXC ปัจจุบันเป็นการ์ดที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีความจุตั้งแต่ 32 GB ขึ้นไป และได้ถูกพัฒนาให้มีความจุสูงสุดถึง 2 TB เลยทีเดียว การ์ดประเภทนี้มักถูกนำมาใช้จัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่ แถมยังใช้งานได้กับหลายอุปกรณ์ เช่น กล้องวงจรปิด , กล้องติดรถยนต์ , กล้องวิดีโอ หรือเครื่องเล่นเกมพกพา ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 50 MB/s ถึง 312 MB/s แต่จะสามารถใช้งานกับอุปกรณ์ที่รองรับ Micro SDXC ได้เท่านั้น
- Micro SD Card สำหรับใช้เก็บไฟล์ความจุต่ำ
-
-
-
2. เลือกจากความเร็วในการอ่าน-เขียนข้อมูลบน Micro SD Card
Micro SD Card จะมีการอ่าน-เขียนข้อมูลที่แยกส่วนของความเร็วออกเป็น Class โดย Class ที่ควรตรวจสอบก่อนนำ Micro SD Card มาใช้งานจะประกอบไปด้วย Speed Class , UHS Speed Class และ Video Speed Class
วิธีตรวจสอบ Speed Class
Speed Class เป็นตัวเลขที่ระบุความเร็วของ Micro SD Card จะแสดงความเร็วในระดับเริ่มต้น ปัจจุบัน Micro SD Card ที่วางจำหน่ายจะระบุ Speed Class บนตัวการ์ด โดยจะแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้
-
-
- C2 (Class 2) : ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 2 MB/s เหมาะสำหรับอ่าน-เขียนไฟล์ขนาดเล็ก ปัจจุบันไม่นิยม และไม่ค่อยมีวางจำหน่ายแล้ว
- C4 (Class 4) : ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 4 MB/s เขียน-อ่านเร็วกว่า C2 เหมาะสำหรับอ่าน-เขียนข้อมูลขนาดเล็ก ราคาไม่สูงมากนัก และไม่ค่อยนิยมแล้ว
- C6 (Class 6) : ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 6 MB/s เป็น Class ที่นำมาใช้งานค่อนข้างมาก เหมาะสำหรับใช้งานกับสมาร์ทโฟน กล้อง หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
- C10 (Class 10) : ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 10 MB/s เป็น Class ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากอ่าน-เขียนได้เร็ว สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน , แท็บเล็ต , กล้อง , โดรน , กล้องติดรถยนต์ , กล้องวงจรปิด หรือเครื่องเล่นเกม
-
วิธีตรวจสอบ UHS Speed Class
UHS Speed Class เป็นมาตรฐานที่ระบุความเร็วในการอ่าน-เขียนข้อมูลของ Micro SD Card โดยเฉพาะสำหรับงานที่ต้องการความเร็วสูง เช่น บันทึกวิดีโอ 4K หรือโอนถ่ายไฟล์ขนาดใหญ่ จะประกอบด้วย 3 ระดับหลัก ดังนี้
-
-
- UHS-I (U1 / U3) : ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ U1:10 MB/s กับ U3:30 MB/s เหมาะสำหรับบันทึกวิดีโอแบบ Full HD , ถ่ายภาพต่อเนื่อง และใช้งานทั่วไป (ความเร็วระดับกลาง)
- UHS-II : ความเร็วในการอ่านสูงสุด 312 MB/s (ขึ้นอยู่กับรุ่นและอุปกรณ์) มีขีดความสามารถที่สูงกว่ารุ่น UHS-I เนื่องจากมีแถวพินเพิ่มเติม เหมาะสำหรับงานวิดีโอ 4K หรือ 8K การถ่ายภาพ RAW หรือโอนถ่ายไฟล์ความเร็วสูง
- UHS-III : ความเร็วในการอ่านสูงสุด 624 MB/s ออกแบบมาสำหรับระดับมืออาชีพ เช่น การบันทึกวิดีโอ 360 องศา และสตรีมมิ่งแบบเรียลไทม์ รองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่รองรับความเร็วขั้นสูง เช่น กล้องถ่ายภาพยนตร์ระดับมืออาชีพ
-
วิธีตรวจสอบ Video Speed Class
Video Speed Class เป็นมาตรฐานใหม่สำหรับการบันทึกวิดีโอความละเอียดสูง บอกถึงความเร็วในการเขียนข้อมูลขั้นต่ำของ Micro SD Card ที่จำเป็นต่อการบันทึกวิดีโอแบบต่อเนื่อง และความละเอียดสูง เช่น วิดีโอ 4K , 8K , 360 องศา หรือวิดีโอแบบ VR ซึ่งมาตรฐานนี้จะแบ่งออกเป็นหลายระดับ ดังนี้
-
-
- V6 (Video Speed Class 6) : ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 6 MB/s เหมาะสำหรับบันทึกวิดีโอแบบ HD , แบบธรรมดา และใช้งานทั่วไป (ไม่ต้องการความเร็วสูงมาก)
- V10 (Video Speed Class 10) : ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 10 MB/s เหมาะสำหรับบันทึกวิดีโอแบบ Full HD หรือ 1080p ซึ่งเป็นความละเอียดมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ส่วนใหญ่
- V30 (Video Speed Class 30) : ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 30 MB/s เหมาะสำหรับบันทึกวิดีโอ 4K และถ่ายภาพที่ต้องการความเร็วในการเขียนสูงอย่างต่อเนื่อง
- V60 (Video Speed Class 60) : ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 60 MB/s เหมาะสำหรับบันทึกวิดีโอ 4K แบบมืออาชีพ , วิดีโอ 360 องศา หรือถ่ายวิดีโอในสภาพแสงและความละเอียดสูง
- V90 (Video Speed Class 90) : ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 90 MB/s เหมาะสำหรับบันทึกวิดีโอ 8K , วิดีโอความละเอียดสูงแบบต่อเนื่อง และถ่ายทำในระดับมืออาชีพ
-
3. เลือกจากระบบไฟล์ ควบคู่กับอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับ Micro SD Card
Micro SD Card แต่ละประเภทจะรองรับระบบไฟล์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ควรพิจารณาด้วยว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกันนั้นรองรับระบบไฟล์ชนิดเดียวกันหรือไม่ เพราะหากไม่รองรับจะไม่สามารถใช้งาน Micro SD Card ได้ ซึ่งระบบไฟล์ที่สามารถใช้งานร่วมกันในปัจจุบันจะมีดังนี้
-
-
- FAT12 / FAT6
เป็นระบบไฟล์ที่ใช้งานร่วมกับ Micro SD ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแล้ว จะเห็นแค่ในสมาร์ทโฟนรุ่นเก่า ๆ - FAT32
เป็นระบบไฟล์ที่ใช้งานร่วมกับ Micro SDHC ใช้งานง่าย แถมยังรองรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ระบบ Android และ Windows ซะเป็นส่วนใหญ่ และยังเป็นระบบไฟล์ที่พบเห็นได้ค่อนข้างบ่อยที่สุด หากเทียบกับระบบไฟล์ประเภทอื่น ๆ ซึ่งจะมีข้อเสียคือ ความปลอดภัยที่ไม่สูงมากนัก - exFAT
เป็นระบบไฟล์ที่ใช้งานร่วมกับ Micro SDXC ซึ่งจะมีข้อจำกัดในการใช้งานพอสมควร ต้องใช้งานร่วมกับอุปกรณ์และ Micro SD Card ที่รองรับระบบไฟล์รูปแบบนี้เท่านั้น จะไม่สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่ไม่รองรับได้ แต่ปัจจุบัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่ ๆ ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับ Micro SDXC ที่มีจุดเด่นคือ สามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องแบ่ง Partition
- FAT12 / FAT6
-
4. ตรวจสอบฟังก์ชั่นของ Micro SD Card เพิ่มเติม
Micro SD Card ที่ถูกนำไปวางจำหน่าย ได้มีการพัฒนามาให้สามารถใช้งานได้หลายด้านมากขึ้น ไม่ว่าจะนำมาบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเกมหรือแอพพลิเคชั่น รวมถึงรองรับการอ่าน-เขียนตลอดเวลา เพื่อนำมาใช้งานกับกล้องวงจรปิด หรือกล้องติดรถยนต์
-
-
-
หากใช้กับอุปกรณ์ที่มีระบบ Android ให้ดูที่แอพพลิเคชั่น Performance Class
-
-
Application Performance Class (A1 / A2) เป็นมาตรฐานที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อระบุประสิทธิภาพของ Micro SD Card ในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ระบบ Android โดยเฉพาะ เช่น การติดตั้งแอพพลิเคชั่น หรือใช้งานเป็นพื้นที่จัดเก็บภายใน ซึ่งการเลือกการ์ดที่มีมาตรฐานนี้จะช่วยให้แอพพลิเคชั่นทำงานได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้
A1 (Application Performance Class 1)
- ความเร็วในการอ่าน 1,500 IOPS และความเร็วในการเขียน 500 IOPS
- ความเร็วในการเขียนต่อเนื่อง 10 MB/s
- เหมาะสำหรับติดตั้งแอพพลิเคชั่นพื้นฐาน การจัดเก็บข้อมูลทั่วไป และใช้งานกับสมาร์ทโฟนระบบ Android ที่ต้องการประสิทธิภาพระดับพื้นฐาน
A2 (Application Performance Class 2)
- ความเร็วในการอ่าน 4,000 IOPS และความเร็วในการเขียน 2,000 IOPS
- ความเร็วในการเขียนต่อเนื่อง 10 MB/s
- เหมาะสำหรับใช้งานแอพที่ต้องการประสิทธิภาพสูง เช่น เกมหรือแอพพลิเคชั่นที่ซับซ้อน และเหมาะกับอุปกรณ์ที่รองรับการจัดเก็บข้อมูลภายใน
-
-
Endurance สำหรับใช้ในสภาพแวดล้อมที่ทน
-
-
การ์ด Endurance จะช่วยลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดของข้อมูล หรือไฟล์เสีย โดยภาพวิดีโอจะถูกบันทึกอย่างครบถ้วนและปลอดภัย เหมาะกับระบบรักษาความปลอดภัย และการใช้งานต่อเนื่องในระยะยาว
วิธีดูการแลรักษา Micro SD Card
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับความร้อน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับความชื้น
- หลีกเลี่ยงการกระแทก
- ฟอร์แมต SD Card เป็นประจำ
สรุป
Micro SD Card ควรเลือกซื้อแบบมาตรฐานที่รองรับกับอุปกรณ์ที่ใช้ และเลือกความจุกับความเร็วที่เหมาะแก่การใช้งานในแต่ละรูปแบบ ที่สำคัญ ควรซื้อการ์ดจากแบรนด์ที่ได้รับความน่าเชื่อถือ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดตามมาในภายหลัง
* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง