สายแลน CAT5E CAT6 CAT6A แต่ละรุ่นถูกบรรจุ และส่งข้อมูลที่มีความเร็วต่างกันอย่างไร ถึงได้เป็น สายแลน CAT ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานอย่างหลากหลาย สำหรับเชื่อมต่อไปจุดหมายปลายทางต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยเรา Vnix จะมาพูดถึงความแตกต่างของสายแลน CAT แต่ละรุ่นให้หายข้อสงสัยกัน
สายแลนในแต่ละแบบ
ระบบแลนจะมีสายอยู่ 3 แบบหลัก ๆ ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และระบบ Network ดังนี้
-
- Copper Twisted Pair
- Coaxial Cable
- Fiber Cable
สายทั้ง 3 แบบนี้ ได้ถูกออกแบบ และมีคุณสมบัติในการทำงานที่ต่างกัน การทำงานของ สาย Coaxial Cable กับ สาย Fiber Cable หลาย ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันดี จะเป็นสายที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตลากเข้าโมเด็มเราเตอร์ในบ้าน ส่วน สาย Copper Twisted Pair จะเป็นสายที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับโมเด็มเราเตอร์นั่นเอง
สาย Copper Twisted Pair คืออะไร ?
สาย Copper หรือ สายลวดทองแดงตีเกลียว ปัจจุบัน นอกจากจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณข้อมูล ยังเป็นตัวส่งกระแสไฟฟ้าเป็นพลังงานให้อุปกรณ์โดยที่ไม่ต้องต่อสายไฟเพิ่ม หรือที่เรียกว่า PoE (Power of Ethernet) หากซื้อสายแลน จะพบว่า สายแลนจะมีฉลากกำกับไว้ว่าเป็นสายประเภทไหน เช่น CAT 5 , CAT 5E , CAT 8 เลขเหล่านี้จะเป็นเลขที่บอกให้ทราบว่าเป็นสายแลนประเภทไหนนั่นเอง โดย CAT (Category) คือประเภท ส่วนเลขต่อท้ายจะบอกถึงความจุในการรองรับสัญญาณของสาย ซึ่งหากมีจำนวนเลขสูงเท่าไหร่ จะยิ่งรองรับการส่งข้อมูลได้มากขึ้นเท่านั้น
สายแลน CAT5E คืออะไร ?
สายแลน CAT5E หรือ Category5E เป็นสายสัญญาณที่ไม่มีฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก สายชนิดนี้จะมีจำนวน 4 คู่สาย 8 เส้น โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก
-
- แกนทองแดงแบบแกนเดี่ยว (Solid conductor) เหมาะสำหรับติดตั้งแบบทั่วไป
- แกนทองแดงแบบฝอย (stranded conductor) เหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องการความยืดหยุ่น เช่น สายเชื่อมต่อในตู้สื่อสาร เนื่องจากสามารถบิด โค้ง หรือ งอ ได้ง่ายกว่า
สาย CAT5E รองรับ Bandwidth สูงสุด 350 MHz ในบางยี่ห้อ โดยมาตรฐานทั่วไปจะอยู่ที่ 100 MHz แลรองรับความเร็วในการส่งข้อมูลตั้งแต่ 100 Mbps ถึง 1000
Mbps หรือระดับ Gigabit
สายแลน CAT6 คืออะไร ?
สายแลน CAT6 หรือ Category6 เป็นสายสัญญาณแบบเคเบิลทองแดงชนิด 4 คู่ รองรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายอย่าง Switch หรือ Hub และรองรับความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุด 10 Gbps โดยมี Bandwidth สูงสุด 600 MHz (มาตรฐานทั่วไป 250 MHz) สำหรับใช้งาน Full speed 1000 Mbps หรือ Full Gigabit ในระยะความเสถียรไม่เกิน 100 เมตร เพื่อความเสถียร (ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และสัญญาณรบกวน) ผ่านอปุกรณ์เชื่อมต่อมาตรฐาน RJ – 45
โดยประเภทของสายแลน CAT6 จะมีทั้งแบบ CMR , CM , และ LSZH ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ รูปแบบการติดตั้ง และอัตราการลามไฟของสายสัญญาณที่ติดตั้งภายในอาคาร ด้วยเหตุผลในเรื่องของความปลอดภัยจากอัคคีภัย (ตามมาตรฐาน UL)
-
- สาย CM (Communication Metallic) ติดตั้งได้ภายในชั้น หรือติดตั้งราบไปกับพื้น (ไม่ควรติดตั้งในแนวอื่น)
- สาย CMR (Communication Metallic Riser) ติดตั้งได้ทั้งแนวราบ และแนวดิ่งบริเวณช่องชาร์ป (จุดรวมของสายสัญญาณที่เชื่อมต่อระหว่างชั้น) ถูกออกแบบด้วยวัสดุที่ทนทาน และป้องกันการลามของไฟได้ดีกว่าแบบ CM ทำให้มีราคาที่สูงกว่า แต่ก็คุ้มค่าหากนำไปใช้งานในระยะยาว
- สาย LSZH ช่วยเพิ่มคุณสมบัติด้านความปลอดภัย ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ และมีควันน้อยกว่าปกติ เพื่อป้องกันอาการสำลักควัน
สายแลน CAT6A คืออะไร ?
สายแลน CAT6A จะต่างจาก CAT6 ตรงที่ Bandwidth เพิ่มมาเป็น 500 MHz พร้อมด้วยฉนวนภายในที่ช่วยลดสัญญาณรบกวน ทำให้มีความเสถียรสูง แม้จะใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีสัญญาณอื่นรบกวนสูง นอกจากนี้ เรื่องของความยาวก็ไม่มีปัญหาเหมือนกับ CAT6 สามารถทำความเร็วสูงสุด 10 Gbps ที่ความยาวสายสูงสุด 100 เมตร
สรุป
สำหรับใครที่จะเลือกใช้ สายแลน CAT5E CAT6 CAT6A แบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งในปัจจุบันมักนิยมใช้สาย CAT6 กันมาสุด เนื่องจากเหมาะกับการใช้งานตามมาตรฐาน
* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง