External Harddisk ถือเป็นอุปกรณ์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับการสำรองข้อมูล (Back Up) ไม่ว่าไฟล์จะมีขนาดใหญ่แค่ไหนก็สามารถเก็บสำรองไว้ได้ครบหมด แต่ด้วยความที่การพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางขึ้น ทำให้การสำรองข้อมูลบน Cloud หรือ Cloud Storage เริ่มมีบทบาทสำคัญ และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน
External Harddisk คืออะไร ทำงานอย่างไร ?
External Hard Disk หรือ ฮาร์ดดิสก์ ภายนอก คืออุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ใช้สำหรับบันทึกไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ โดยเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต หรือสายเชื่อมต่อภายนอก เช่น USB , Thunderbolt , eSATA หรือ Wi-Fi ซึ่งจะมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท คือ
- HDD (ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์)
HDD จะประกอบด้วยจานหมุน ซึ่งจะใช้ส่วนตัวแม่เหล็กและหัวอ่าน / เขียน เพื่ออ่านและเขียนข้อมูลบนพื้นผิวจาน ซึ่งจะหมุนตลอดเวลา ทำให้เกิดการทำงานที่ช้าลง และเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายจากการสั่นสะเทือนได้ง่าย - SSD External Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์ภายนอกแบบพกพา)
SSD เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ใช้สำหรับเก็บไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ โดยเชื่อมต่อผ่านพอร์ตหรือสายเชื่อมต่อภายนอก เช่น USB , Thunderbolt , eSATA หรือเครือข่าย Wi-Fi
ระบบไฟล์ใน External Harddisk มีอะไรบ้าง ?
ระบบไฟล์ใน External Harddisk จะมีด้วยกัน 3 ประเภท ดังนี้
- NTFS (New Technology File System)
NTFS สามารถจัดการไฟล์ได้โดยไม่มีข้อจำกัด ทั้งในเรื่องของขนาดและจำนวน สามารถสร้างพาร์ทิชั่น หรือไดรฟ์ ให้มีขนาดเท่าไหร่ก็ได้ และรองรับการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์และรหัสเพื่อความปลอดภัย แถมมีระบบ Check Point สำหรับการสำรองไฟล์อัตโนมัติ นอกจากนี้ยังสามารถบีบอัดไฟล์ โฟลเดอร์ หรือไดรฟ์ และจะทำงานได้ดีที่สุดบนระบบปฏิบัติการ Windows ส่วนระบบอื่น ๆ อาจอ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถบันทึกหรือเขียนข้อมูลลงไปได้ - FAT32 (File Allocation Table)
FAT32 สามารถจัดการไฟล์ขนาดใหญ่สุดได้เพียง 4 GB เท่านั้น ส่วนพาร์ทิชั่นจะมีขนาดใหญ่สุด 8 TB แต่ด้วยความที่ FAT32 เป็นระบบไฟล์เก่า ทำให้เป็นระบบไฟล์ที่มีความเข้ากันได้สูง และสามารถใช้งานได้กับทุกระบบปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็น Windows , macOS หรือลินุกซ์ รวมถึงเครื่องเล่นเกมคอนโซลต่าง ๆ ด้วย - exFAT
exFAT จะยังใช้พื้นฐานเดียวกับ FAT32 และได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยสามารถจัดเก็บไฟล์ขนาดใหญ่กว่า 4 GB ได้ และไม่มีข้อจำกัดในเรื่องขนาดของไดรฟ์ ระบบไฟล์นี้จะใช้งานกับระบบปฏิบัติการ macOS ได้อย่างเต็มที่เฉพาะเวอร์ชั่น 10.6.5 ขึ้นไป รวมถึงการใช้งานกับระบบลินุกซ์ก็จำเป็นต้องติดตั้งซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมก่อน
วิธีการเลือก External Harddisk
External Hard Disk จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปตามจุดประสงค์ในการใช้งาน มาดูกันว่า สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกซื้อ External Hard Disk นั้นจะมีอะไรบ้าง
1. เลือกความจุ 4 TB – 10 TB (10 Gbps – 20 Gbps) สำหรับจัดเก็บไฟล์เกม
เหมาะสำหรับจัดเก็บไฟล์เกมขนาดใหญ่ ซึ่งเกมส่วนมากจะมีขนาดตั้งแต่ 10 GB – 100 GB ต่อเกม และอาจมีการดาวน์โหลดทรัพยากรหรือแพทช์เสริมหลังติดตั้ง ในหลาย ๆ เกมจะใช้พื้นที่เกิน 20 GB สำหรับความจุ 4 TB สามารถจัดเก็บได้ประมาณ 40 – 400 เกม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประเภทของแต่ละเกม สำหรับความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลสำหรับจัดเก็บไฟล์จะอยู่สูงสุดที่ 10 Gbps – 20 Gbps ทั้งอ่านและเขียนข้อมูล
2. เลือกความจุ 1 TB – 4 TB (100 MB/s – 300 MB/s) สำหรับใช้งานทั่วไป
External Hard Disk ความจุ 1 TB – 4 TB สามารถคำนวณคร่าว ๆ เพื่อเลือกความจุของ External Hard Disk ให้เพียงพอต่อการใช้งานได้ดังนี้
-
- External Hard Disk ความจุ 1 TB สามารถจัดเก็บไฟล์ภาพยนตร์แบบ Full HD (ขนาดไฟล์เฉลี่ย 6 GB) ได้ประมาณ 166 เรื่อง ส่วนวิดีโอระดับ 4K จะสามารถบันทึกได้ประมาณ 15 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยเพียง 10 เรื่องเท่านั้น
- ไฟล์เพลง MP3 ที่คุณภาพเสียงปานกลาง (128 kbps) และไฟล์เพลงขนาดเฉลี่ยประมาณ 4 MB ต่อเพลง โดยความจุ 1 TB จะสามารถเก็บได้ประมาณ 250,000 เพลง
- ไฟล์รูปภาพ หากใช้รูปภาพขนาดใหญ่สุด 10 MB ต่อรูป ความจุ 1 TB จะสามารถจัดเก็บได้ประมาณ 100,000 รูป
สำหรับความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลของ หากไม่หนักจะอยู่ที่ 100 MB/s – 300 MB/s หากมี External Hard Disk ที่มีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลที่ 150 MB/s และต้องการคัดลอกไฟล์ขนาด 1 GB จะใช้เวลาประมาณ 6 – 7 วินาที (1 GB / 150 MB/s)
- เลือก External Harddisk ที่รองรับ Interface USB 3.0 ขึ้นไป
ในปัจจุบัน ข้อมูลจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าในอดีตมาก เนื่องจากไฟล์บางประเภทอาจประกอบด้วยไฟล์หลายประเภท และมีความละเอียดสูง ทำให้ External Hard Disk ในปัจจุบันมีพื้นที่เก็บข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย และเมื่อข้อมูลมีขนาดใหญ่ การเชื่อมต่อระหว่าง Hard Disk จึงสำคัญ เนื่องจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการถ่ายโอนข้อมูลหากต้องการโอนถ่ายข้อมูลระหว่าง External Hard Disk กับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนะนำให้เลือก External Hard Disk ที่รองรับอินเตอร์เฟซ USB 3.0 ขึ้นไป เพราะเทคโนโลยี USB 3.0 สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วสูงสุดถึง 5 Gbps และควรตรวจสอบความเร็วในการอ่าน-เขียนข้อมูลที่เลือกซื้อด้วย นอกจากนี้ยังมีอีกหลาย ๆ รุ่นที่มาพร้อมกับอินเตอร์เฟซ USB 3.2 สามารถเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลได้ถึง 20 Gbps. เลยทีเดียว - เลือก External Hard Disk น้ำหนัก 120 – 200 กรัม
External Hard Disk แบบ Portable เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเชื่อมต่อง่าย พกพาได้สะดวก และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ PC ผ่านสาย USB อีกทั้งยังไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการทำงาน แต่มีจุดที่ต้องระวังคือ อุปกรณ์เหล่านี้จะถูกลดความเร็วลงที่คอขวดของการเชื่อมต่อผ่านสาย USB ในขณะที่ Hard Disk ทั่วไปจะให้ความเร็วที่สูงกว่า และไม่ทนต่อการตกหรือกระแทก หากไม่ระวังอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบภายในอุปกรณ์ได้ - เลือก External Hard Disk สำหรับ Backup ข้อมูลโดยเฉพาะ
การเลือก External Hard Disk ที่ทำสำเนาข้อมูล (Mirroring) หรือที่เรียกว่า RAID 1 ถือเป็นทางเลือกที่ดี ซึ่งระบบนี้จะรวบรวม Hard Disk 2 ไดรฟ์เข้าไว้ด้วยกัน โดยจะคัดลอกข้อมูลใน Hard Disk ไดร์ฟที่ 1 มาลงในไดร์ฟที่ 2 เหมือนกันทุกอย่าง ซึ่งจะมีข้อดีคือ หาก Hard Disk ตัวใดตัวหนึ่งเสีย จะยังมีข้อมูลสำรองอยู่ที่อีกไดรฟ์หนึ่ง เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล - ตรวจสอบว่า External Hard Disk ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อได้หรือไม่
โดยทั่วไป Hard Disk จะสามารถทำงานร่วมกันกับระบบปฎิบัติการต่าง ๆ ได้ แต่ก็มีบ่อยครั้งที่เมื่อซื้อ Hard Disk มาเสียบกับอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้วปรากฏว่า Hard Disk ไม่ขึ้น แนะนำให้ตรวจสอบว่า External Hard Disk ที่กำลังเลือกซื้ออยู่นั้น รองรับกับระบบปฏิบัติการหรือ OS ของอุปกรณ์ที่ใช้งานหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่า External Hard Disk ที่ซื้อมาสามารถใช้งานได้จริง ๆ โดยปัจจุบัน External Hard Disk ที่วางขายส่วนใหญ่จะสามารถใช้งานได้ทันทีกับ Microsoft Windows เวอร์ชัน 8.1 ขึ้นไป ด้วยระบบไฟล์ NTFS
External Harddisk เหมาะกับใคร
External Hard Disk เป็นอุปกรณ์เสริมที่ถูกพัฒนามาจากที่เก็บข้อมูลแบบพกพา ทำให้ตัวอุปกรณ์ส่วนใหญ่ไม่ต้องใช้สายไฟ สามารถใช้ไฟจาก USB ได้เลย แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อเพิ่มขนาดความจุของอุปกรณ์แบบสะดวกได้ด้วย แม้ว่าอาจทำงานได้รวดเร็วไม่เท่า Hard Disk ปกติ หากต้องทำการพกพาข้อมูลเพื่อไปทำงาน หรือกำลังหาวิธีการง่าย ๆ ในการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูล External Hard Disk
สรุป
External Hard Disk สามารถช่วยให้จัดเก็บข้อมูลได้อย่างสะดวก แต่การจะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ , ไม่ยุ่งเหยิง และง่ายต่อการเรียกดูนั้นก็ขึ้นอยู่กับการจัดประเภทไฟล์ ดังนั้น ควรวางแผนให้ดีก่อนว่าจะจัดเก็บแยกแบบไหน และจะสำรองข้อมูลบ่อยแค่ไหน เพื่อให้มั่นใจว่าการสำรองข้อมูลนั้นจะครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ แนะนำให้ลองหาศึกษาวิธีการและแนวทางการจัดแยกไฟล์เพิ่มเติมดูครับ
* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง