สาย Fiber Optic หรือ สายใยแก้วนำแสง เป็นสายชนิดใหม่ สามารถส่งข้อมูลและโอนถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูง โดยสายชนิดนี้จะทำจากแก้วหรือพลาสติกที่โปร่งแสง แถมยังยืดหยุ่นมาก และยังสามารถส่งสัญญาณได้ถึง 120 กิโลเมตร มี Bandwidth ซึ่งเป็นตัวช่วยในการส่งสัญญาณดีกว่า สายเคเบิล ประเภทที่ทำจากทองแดง และในบทความนี้ เราได้รวบรวมความสงสัยของใครหลาย ๆ คนอย่างคำถามที่ว่า สาย Fiber Optic มีกี่ประเภท แบบ Single-Mode กับแบบ Multi-Mode ต่างกันอย่างไร มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันได้เลย
สาย Fiber Optic มีกี่ประเภท
ชนิดของสายที่ใช้แต่ละประเภทจะมีการแบ่งแยกออกโดยเฉพาะ กับสาย Fiber Optic ก็เช่นกัน ซึ่งจะแบ่งประเภทออกเป็นดังนี้
-
-
-
Fiber Optic Cable Single-Mode
-
-
Fiber Optic Cable Single-Mode หรือ SM เป็นสายที่ถูกออกแบบมาสำหรับนำแสงเป็นเส้นตรงในระยะไกล สามารถส่งสัญญาณได้ตั้งแต่ 5 – 120 กิโลเมตร ซึ่งไม่ว่าจะเป็นความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ 10 Mbps , 100 Mbps หรือ 1000 Mbps (1 Gbps) หากใช้สาย Fiber Optic ชนิดนี้ จะสามารถส่งสัญญาณได้แบบไม่จำกัด แถมความเร็วก็ไม่ลดลงอีกด้วย โดยสายชนิดนี้จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ OS1 กับ OS2 ซึ่งทั้งสองแบบนี้จะนำมาใช้งานสำหรับด้านความยาวของคลื่นแสงที่ 1310 µm. กับ 1550 µm. และการใช้งานกับค่าสัญญาณรบกวนภายในสาย
-
-
-
Fiber Optic Cable Multi-Mode
-
-
Fiber Optic Cable Multi-Mode หรือ MM เป็นสายที่ใช้สื่อสารได้เฉพาะระยะทางที่สั้น เนื่องจากความเร็วและระยะทางที่ถูกจำกัดไว้ เช่น หากต้องการส่งสัญญาณด้วยความเร็ว 100 Mbps ระยะทางสูงสุดที่จะส่งได้คือ 2 กิโลเมตร และเพราะเหตุนี้ สาย Fiber Optic ชนิด Multi-Mode จึงสามารถใช้งานได้แค่เฉพาะภายในตึกและอาคารเท่านั้น
Single-Mode กับ Multi-Mode ต่างกันอย่างไร
เชื่อว่ายังมีหลายคนที่อาจยังไม่รู้ว่า สาย Fiber Optic นั้นมีกี่คอร์ มีกี่ขนาด ซึ่งสายแต่ละประเภทจะมีขนาดคอร์ที่ไม่เท่ากันดังนี้
Core Diameter
- ขนาดคอร์ของ Single-Mode คือ 9 / 125 µm (OS1 / OS2)
- ขนาดคอร์ของ Multi-Mode จะมีด้วยกัน 2 ขนาด ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
-
-
- 62.5 / 125 µm (OM1)
- 50 / 125 µm (OM2)
- 50 / 125 µm (OM3)
- 50 / 125 µm (OM4)
- 50 / 125 µm (OM5)
-
Optical Light Source
Optical Light Source เป็นตัวส่งสัญญาณแสงที่มีด้วยกัน 2 แบบ คือแบบ Laser กับแบบ LEDs ซึ่งจะถูกใช้เป็นแหล่งกำเนิดของแสง โดยแบบ Laser จะถูกนำไปใช้กับสายประเภท Single-Mode แถมมีราคาที่แพงกว่า LEDs เนื่องจากสามารถควบคุมได้อย่างแม่นยำ และมีพลังงานที่สูง ในขณะที่แบบ LEDs มักถูกนำไปใช้กับสายประเภท Multi-Mode เพราะมีแหล่งกำเนิดแสงที่กระจัดกระจาย ไม่คงที่
Jacket Color
Jacket Color เป็นสีเปลือกนอกของสายเคเบิล ใช้สำหรับแบ่งแยกระหว่าง Multi-Mode กับ Single-Mode ตามคำแนะนำของมาตรฐาน TIA-598C โดยแบบ Single-Mode จะใช้ Jacket สีเหลือง ส่วนแบบ Multi-Mode จะใช้สีของ Jacket ซึ่งจะแบ่งเป็นแต่ละประเภทได้ดังนี้
-
-
- OM1 สีส้ม
- OM2 สีส้ม / สีเทา
- OM3 สีฟ้า
- OM4 สีฟ้า / สีม่วงชมพู
- OM5 สีเขียว
-
การสื่อสารผ่าน Fiber Optic มีส่วนประกอบหลักอะไรบ้าง
1. ตัวกำเนิดแสง (Light Source)
LED จะเป็นตัวเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสง หรือ Optical Transmitter
2. สายสัญญาณไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic)
สาย Fiber Optic ถูกทำขึ้นมาจากแก้วหรือพลาสติกที่มีคุณภาพสูง โดยจะมีหน้าที่เป็นสื่อกลางในการนำสัญญาณ หรือ Channel
3. ตัวแยกสัญญาณแสง (Light Detector)
ตัวแยกสัญญาณแสง ถือเป็นอุปกรณ์แบบปลายทาง ซึ่งตัวแยกนี้จะใช้อุปกรณ์ประเภท PIN Diode ในการแยกสัญญาณหรือถอดรหัส โดยเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า หรือ Optical Receiver
จุดเด่นของสาย Fiber Optic
- ติดตั้งได้ในระยะที่ไกลกว่าสายทองแดง
- สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ถึง 100%
- บริเวณไหนก็สามารถติดตั้งได้ ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกอาคาร
- รองรับความเร็วสูง สามารถใช้งานได้กับทุกระบบ เช่น LAN / CCTV Telephone
วิธีเลือกใช้งานสาย Fiber Optic
- เลือกใช้สายชนิด Single-Mode หรือ Multi-Mode
- ดูวิธีการติดตั้งว่าใช้วิธีแบบไหน แบบร้อยท่อ , ฝังดิน หรือแขวนเสาไฟฟ้า
- ใช้จำนวนคอร์ที่เหมาะสม เช่น 6 Core , 12 Core , 24 Core เป็นต้น
สรุป
สาย Fiber Optic ถือเป็นสายชนิดใหม่ ที่สามารถส่งข้อมูลและโอนถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูง เป็นสายที่ทำจากแก้วหรือพลาสติกที่โปร่งแสง แถมมีความยืดหยุ่น โดยแบบ Single-Mode จะสามารถส่งข้อมูลระยะไกลได้ ส่วนแบบ Multi-Mode จะส่งข้อมูลได้แค่ในระยะสั้น ๆ เท่านั้น หากจะนำไปใช้เพื่อเชื่อมต่อระหว่างเมืองหรือประเทศ แนะนำให้ใช้แบบ Single-Mode จะเหมาะที่สุด แต่หากต้องการติดตั้งแค่ในตึกหรืออาคาร แบบ Multi-Mode ถือว่าตอบโจทย์ได้ดีที่สุด
* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง