บทความข่าวสารไอที

แรมเสีย เกิดจากอะไร มีวิธีตรวจสอบอย่างไรว่าเสียหรือไม่

แรมเสีย เกิดจากอะไร มีวิธีตรวจสอบอย่างไรว่าเสียหรือไม่

การใช้ แรม ไปนาน ๆ โอกาสที่จะทำให้เกิดความผิดพลาด หรือความเสียหายระหว่างการติดตั้งและเคลื่อนย้าย ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งบางครั้งก็อาจแสดงอาการผิดปกติมาให้เห็นทันทีที่มีการเริ่มใช้งาน แต่บางครั้งก็มีอาการต่อเมื่อมีการเรียกใช้งานแรมอย่างเต็มกำลัง ทั้งนี้ หากเกิดปัญหาขึ้น ควรตรวจสอบและวิเคราะห์สาเหตุให้ชัดเจน

 

แรมเสีย เพราะอะไร ?

แรม ถือเป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง อีกทั้งยังมีอัตราการเกิดความล้มเหลวสูงสุดหากเทียบกับส่วนประกอบทั้งหมดของเครื่องคอมพิวเตอร์ พูดง่าย ๆ คือ ระบบปฏิบัติการและเว็บเบราว์เซอร์มักเป็นโปรแกรมที่ใช้แรมมากที่สุด และโดยทั่วไป ยิ่งโปรแกรมมีความซับซ้อนมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องใช้แรมมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าหน่วยความจำนี้เป็นหน่วยความจำระยะสั้นของคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ใช้งานอยู่

 

ปัญหาแรมเสียที่พบได้บ่อย

1. ประสิทธิภาพที่ลดลง (Diminishing Performance)

หากคอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีในช่วงแรกหลังเปิดเครื่อง แต่ประสิทธิภาพลดลงเมื่อใช้งานเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาแรมเสีย โดยเฉพาะเมื่อใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ต้องการหน่วยความจำสูง เช่น Photoshop วิดีโอเกมที่มีกราฟิกซับซ้อน หรือเว็บเบราว์เซอร์ที่เปิดหลายแท็บ

 

2. เกิดปัญหาแบบสุ่ม (Random Crashes)

Random Crashes หรือ การเกิดปัญหาแบบสุ่ม เพียงเพราะคอมพิวเตอร์หยุดทำงานแบบสุ่ม ไม่ได้แปลว่าแรมมีปัญหาเสมอไป แต่เป็นสัญญาณที่อาจบ่งชี้ถึงความผิดปกติ ตัวอย่างเช่น หากพบหน้าจอ Blue Screen of Death บน Windows ทุกครั้งที่เปิดแอพพลิเคชั่นบางตัว เสาเหตุอาจมาจากแอพพลิเคชั่นนั้นมากกว่าปัญหาฮาร์ดแวร์ แต่หากพบว่าข้อขัดข้องเกิดขึ้นโดยไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าและเกิดขึ้นแบบสุ่ม อาจมีความเป็นไปได้ว่าแรมเป็นสาเหตุของปัญหา

 

3. การแสดงผลโหลดไม่สำเร็จ (Video Card Fails to Load)

หากเปิดคอมพิวเตอร์แล้วได้ยินเสียงบี๊บเกือบทุกครั้ง นั่นแสดงว่าระบบสามารถจดจำฮาร์ดแวร์วิดีโอและอุปกรณ์อื่น ๆ ได้อย่างถูกต้องและบูตสำเร็จ แต่หากไม่มีเสียงบี๊ปเกิดขึ้น แสดงว่าอุปกรณ์ยังไม่ได้รับการโหลด อาจเกิดจากแรมมีปัญหา ซึ่งจะมีข้อความเตือนบนหน้าจอเมื่อระบบปฏิบัติการพยายามบูต อย่างไรก็ตาม ปัญหาอาจไม่ได้เกิดจากแรมเสมอไป แต่อาจมาจากการ์ดแสดงผลแทน

 

สำหรับผู้ใช้ Mac หากสงสัยว่าแรมมีปัญหา แนะนำให้ฟังเสียงขณะเปิดเครื่อง โดยปกติ เสียงบี๊บ 3 ครั้ง มักเป็นสัญญาณว่าพบข้อผิดพลาดของแรม ส่วนในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ควรสังเกตการทำงานของไฟ LED บนเมนบอร์ด โดยเฉพาะในเครื่องรุ่นใหม่ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา มักจะมีไฟ LED แสดงสถานะปัญหา เช่น ข้อผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับ RAM , CPU หรือการ์ดจอ

 

4. ไฟล์ข้อมูลเสียหาย (Corrupted Data Files)

หลายคนอาจเคยพบปัญหาไฟล์สำคัญที่ใช้งานบ่อยเสียหาย และไม่สามารถเปิดได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นบทเรียนสำคัญเกี่ยวกับการสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าแรมใกล้ถึงช่วงที่เริ่มเสื่อมสภาพ และหากพบไฟล์ที่เกิดความเสียหายมากขึ้นเรื่อย ๆ แถมปัญหายังแย่ลง มีความเป็นไปได้สูงว่าแรมอาจเป็นสาเหตุหลัก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของฮาร์ดไดรฟ์จนเสียหาย ทำให้โครงสร้างฮาร์ดไดรฟ์เสื่อมลง และจะไม่สามารถบู๊ตเครื่องได้เลย

 

5. Incorrect System RAM Display

สามารถตรวจสอบจำนวนแรมที่ระบบคิดว่ามีทั้งใน Windows และ Mac โดยสามารถตรวจสอบจำนวนแรมสูงสุดที่สามารถติดตั้งได้ดังนี้

 

ใน Windows

  1. คลิกขวาที่เมนู Start แล้วเลือก System > About
  2. หน้าจอจะแสดงข้อมูลสำคัญของระบบ รวมถึงปริมาณ RAM ที่ติดตั้งไว้
  3. หากข้อมูลที่แสดงไม่ตรงกับความเป็นจริง อาจเกิดจากปัญหาของ RAM (มีข้อยกเว้น คือ หากใช้กราฟิกชิปที่ติดตั้งบนหน่วยประมวลผล บางครั้งแรมที่แสดงผลบนหน้าจออาจมีไม่ครบจำนวนที่ติดตั้งไว้ เนื่องจากมีการแบ่งแรมนำไปใช้กับกราฟิกแบบติดตั้งบนหน่วยความจำ)

ใน Mac

  1. ไปที่เมนู Apple > About This Mac
  2. ในหน้าต่างที่เปิดขึ้น ให้เลือกแท็บ Overview (ภาพรวม)
  3. หน้าต่างนี้จะแสดงข้อมูลพื้นฐานของระบบ รวมถึงจำนวน RAM ที่ติดตั้ง

 

วิธีตรวจสอบว่าแรมเสียหรือไม่

  • Check for Bad RAM on Windows

Windows มาพร้อมกับเครื่องมือวินิจฉัยหน่วยความจำในตัว สามารถใช้งานได้โดยกด Windows Key + R จากนั้นพิมพ์ mdsched แลเวกด Enter ระบบจะแจ้งเตือนให้รีสตาร์ทเครื่องเพื่อเริ่มการทดสอบหน่วยความจำโดยอัตโนมัติ และเมื่อการทดสอบเสร็จสิ้น เครื่องจะรีสตาร์ทและกลับไปยังเดสก์ท็อป หากพบปัญหา ระบบจะแจ้งเตือนผ่านแถบงาน

 

  • Check for Bad RAM on macOS

Macs มาพร้อมกับเครื่องทดสอบหน่วยความจำในตัวที่สามารถใช้งานได้ง่าย เพียงรีสตาร์ทอุปกรณ์และกดปุ่ม D ค้างไว้ระหว่างการบูต สำหรับรุ่นใหม่ การทดสอบหน่วยความจำจะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติ แต่สำหรับรุ่นเก่า ผู้ใช้งานจะต้องเลือกแท็บ การทดสอบฮาร์ดแวร์ ทำเครื่องหมายที่ช่องสำหรับ ทำการทดสอบเพิ่มเติม (ใช้เวลานานขึ้น) และกด เริ่มการทดสอบ หากต้องการตรวจสอบหน่วยความจำในเชิงลึกมากขึ้น สามารถใช้โปรแกรม Memtest บน Macs ได้เช่นกัน

 

วิธีตรวจสอบเบื้องต้น

สำหรับวิธีตรวจเช็คในเบื้องต้น สามารถทำได้โดยการเปิด System ด้วยการกดคลิกขวาที่ My Computer แล้วเลือก Properties (หากใช้ Windows 8 ขึ้นไป ให้คลิกขวาที่มุมล่างซ้ายของจอแล้วเลือก System) จากนั้นตรวจสอบว่าแรมมีจำนวนครบตามที่ติดตั้งไว้หรือไม่

 

ส่วนการใช้ Windows Memory Diagnostic ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มากับ Windows ในการตรวจสอบความผิดปกติในการทำงานได้ โดยพิมพ์คำว่า Memory ในช่องค้นหา จากนั้นเลือก Windows Memory Diagnostic ระบบจะให้รีสตาร์ทหนึ่งครั้ง จากนั้นก็เข้าสู่โหมดการทำงานได้ทันที และหากเกิดความผิดพลาด ระบบจะแจ้งเตือนให้ทราบ

 

ส่วนอีกวิธีสำหรับการตรวจเช็คว่าสามารถทำงานได้ตามปกติหรือไม่ คือ ลองเปิดโปรแกรมหลาย ๆ ตัวเพื่อทดสอบการใช้งานแรม ในกรณีที่หากใช้งานไปแล้วเกิดอาการโหลดค้าง หรือบลูสกรีนระหว่างใช้งาน ให้ลองรีสตาร์ทเครื่องแล้วทดสอบอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าแรมมีปัญหาหรือไม่

 

สรุป

หากสงสัยว่า แรม ของคอมพิวเตอร์มีปัญหา อย่าเพิ่งรีบร้อนซื้อใหม่ แนะนำให้ลองตรวจสอบด้วยวิธีที่แนะนำไว้ข้างต้นก่อน หากพบว่าเสียจริง วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือเปลี่ยนแรมใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หากไม่มั่นใจ แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบ แต่หากมีความรู้ด้านเทคโนโลยีอยู่บ้างก็สามารถเปลี่ยนด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ

 

* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง