หากถามว่า Access Point คืออะไร เชื่อว่าหลายคนคงจะรู้จักอุปกรณ์ช่วยกระจายสัญญาณ และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเจ้าเครื่อง Router กันอย่างแน่นอน ซึ่งในการใช้งานอินเทอร์เน็ตในคอนโดหรือหอพักที่มีพื้นที่ไม่กว้าง การใช้ Router เพียงเครื่องเดียวก็เพียงพอสำหรับการกระจายสัญญาณทั่วถึงแล้ว แต่สำหรับบ้านหลายชั้นหรือสำนักงานใหญ่ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก การใช้ Router เพียงเครื่องเดียวอาจไม่สามารถกระจายสัญญาณได้อย่างครอบคลุมทั้งหมด ต้องใช้อุปกรณ์ตัวช่วยอย่าง Access Point เข้ามาช่วยกระจายสัญญาณ Wi-Fi ให้ครอบคลุมมากขึ้น
Access Point คืออะไร ?
Access Point (AP) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากอุปกรณ์รับสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการ หรือที่เรียกว่า Router หรือ Switch หรือแม้กระทั่งจากอุปกรณ์กระจายสัญญาณอื่น ๆ เพื่อขยายขอบเขตการเชื่อมต่อ Wi-Fi ให้กว้างขึ้น โดยจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อและใช้อุปกรณ์ดู Netflix , YouTube หรือแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ ได้ในหลาย ๆ จุดของบ้าน ทั้งนี้ ประสิทธิภาพนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ด้วย
เทคโนโลยีสำหรับเชื่อมต่อ Access Point
หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า มาตรฐานการทำงานของระบบไร้สายนั้นเรียกว่า IEEE 802.11 ซึ่งได้รับการกำหนดโดยสถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) โดยมาตรฐานนี้จะอยู่ใน Specification ของทั้งอุปกรณ์ต้นทางและอุปกรณ์ปลายทางทุกชนิดที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อ
นอกจากนี้ IEEE 802.11 ยังมีอีกหลายมาตรฐาน ตั้งแต่ 802.11 , 802.11a , 802.11b , 802.11g , 802.11n , 802.11ac และ 802.11ax ซึ่งแต่ละรุ่นจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราการส่งข้อมูล (Data Rate) และการรับ-ส่งสัญญาณผ่านเสาตามมาตรฐานนั้น ๆ โดยสามารถเรียงลำดับจากรุ่นมาตรฐานต่ำสุดไปถึงสูงสุดได้ดังนี้
-
-
- 802.11 เป็นมาตรฐานการทำงานแบบดั้งเดิม ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อปี 1997 รองรับ Bandwidth ได้สูงสุด 2 Mbps
- 802.11b ถูกพัฒนาขึ้นในปี 1999 รองรับ Bandwidth ได้สูงสุด 1 Mbps
- 802.11a ถูกคิดค้นขึ้นพร้อมกับ 802.11b รองรับ Bandwidth ได้สูงสุด 54 Mbps (อุปกรณ์ที่รองรับจะมีราคาที่สูงกว่า)
- 802.11g ถูกคิดค้นขึ้นในปี 2003
- 802.11n พัฒนาขึ้นมาจาก 802.11g รองรับ Bandwidth ได้สูงสุด 300 Mbps (รองรับสัญญาณจำนวนมาก)
- 802.11ac รองรับ Bandwidth ได้สูงสุด 1300 Mbps (นิยมในยุคปัจจุบัน)
- 802.11ax เป็นมาตรฐานล่าสุดที่ถูกคิดค้นขึ้น หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Wi-Fi 6
-
Access Point กับตำแหน่งการติดตั้ง
ตำแหน่งการติดตั้งของอุปกรณ์ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเลือกรุ่นแอคเซสพอยต์ เนื่องจากแต่ละรุ่นจะมีการดีไซน์ลักษณะเสาของอุปกรณ์ และวัสดุความเหมาะสมของการใช้งานต่างกัน ดังนี้
1. ติดตั้งบนฝ้าภายในอาคาร (เสาภายใน)
หากต้องการติดตั้งภายในโซนออฟฟิศ และความสวยงาม โดยบริเวณที่ติดตั้งเป็นที่โล่ง สามารถติดบนฝ้าได้ แนะนำเป็นอุปกรณ์ที่มีเสาอยู่ภายในอุปกรณ์ โดยมีลักษณะการกระจายแบบ Omnidirectional ที่กระจายเป็นแนวราบ หรือแบบโดนัท อย่างตัว AP-303
2. ติดตั้งบนฝ้าภายในอาคาร (เสาภายนอก)
หากต้องการติดตั้งภายในโซนออฟฟิศ แต่ต้องการกำหนดทิศทางของสัญญาณ เพื่อให้มั่นใจว่าจุดนั้นจะได้สัญญาณที่ดี แนะนำเป็นอุปกรณ์ที่เสาอยู่ภายนอก และเลือกซื้อ Option เสาที่เป็นลักษณะ Directional ที่สามารถกำหนดทิศทางการกระจายของสัญญาณได้ อย่างตัว AP-324
3. ติดตั้งในอาคารบนโต๊ะ
หากต้องการติดตั้งภายในอาคาร แต่ฝ้าไม่ได้ออกแบบมาให้เดินสายแลน หรือสำหรับติดอุปกรณ์ Access point ได้ แนะนำให้เลือกโมเดลที่ออกแบบให้ติดตั้งบนโต๊ะได้ ซึ่งข้อเสียของชนิดตั้งโต๊ะคือ จะไม่สามารถกระจายสัญญาณได้ดีเท่าติดตั้งบนฝ้า อย่างตัว AP-303H
4. ติดตั้งภายนอกอาคาร
หากต้องการติดตั้งภายนอกอาคาร Outdoor หรืออยู่ภายในโรงงานที่อุปกรณ์มีโอกาสที่จะโดนฝน , อุณหภูมิ , ความชื้น , ฝุ่น หรือปัจจัยอื่น ๆ แนะนำโมเดลที่รองรับการติดตั้งภายนอกอาคาร อย่างตัว AP-367
ประโยชน์ของ Access Point
Access Point ถือเป็นอุปกรณ์ของระบบเครือข่ายที่สำคัญมาก ๆ เพราะนอกจากหน้าที่แล้ว จะเห็นได้ว่ายังสามารถทำให้การเชื่อมต่อแบบไร้สายสะดวกขึ้น และสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้แทบจะทุกที่ เพียงแค่อยู่ใกล้ Access Point เท่านั้น
ปัจจัยในการเลือกใช้ Access Point
1. เลือกจากจำนวนผู้ใช้งาน (No of Users)
-
-
-
แบบใช้งานทั่วไป (SO / HO Access Point)
-
-
Access Point สำหรับใช้งานทั่วไป ในสำนักงานขนาดเล็ก หรือ Home Office เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาย่อมเยา เหมาะสำหรับใช้งานในออฟฟิศที่มีคนน้อย (25 คน / เครื่อง) นอกจากนี้ยังสามารถใช้งาน Router แบบ 2 in 1 ที่เป็นทั้ง Router เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และแอคเซสพอยต์กระจายสัญญาณ Wi-Fi ในเครื่องเดียวกันได้ อย่างไรก็ตาม การใช้งาน แอคเซสพอยต์ในรูปแบบนี้อาจพบปัญหาเรื่องการกระจายสัญญาณไม่เสถียร และอาจต้องเปิด-ปิดเครื่องเป็นระยะ ๆ
-
-
-
แบบ Enterprise
-
-
อุปกรณ์นี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่กระจายสัญญาณ Wi-Fi โดยเฉพาะ เหมาะสำหรับใช้งานในสำนักงานขนาดใหญ่หรือห้างสรรพสินค้าที่มีผู้คนหนาแน่น เนื่องจากสามารถรองรับผู้ใช้งานได้จำนวนมาก (100 คน / เครื่อง) และสามารถกระจายสัญญาณที่เสถียรและคงที่มากกว่าแอคเซสพอยต์ทั่วไป ซึ่งก็มีราคาที่สูงตามไปด้วยเช่นกัน
2. เลือกจากการกระจายสัญญาณ (Broadcast Signal)
-
-
-
Access Point ที่กระจายสัญญาณในแนวราบ (Omnidirectional)
-
-
อุปกรณ์นี้จะมีการกระจายสัญญาณ Wi-Fi แบบรอบทิศทาง (Omnidirectional) ในแนวราบ ซึ่งช่วยให้สัญญาณกระจายไปทั่วทั้งพื้นที่อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง โดยมักมีดีไซน์ที่เรียบง่าย ไม่มีเสาอากาศยื่นออกมาให้ดูขัดตา หรือบางรุ่นอาจมีเสาสัญญาณในบางจุด
-
-
-
Access Point ที่กระจายสัญญาณในแนวดิ่ง (Directional)
-
-
เป็นอุปกรณ์ที่เน้นใช้งานเฉพาะจุด เพราะสามารถปรับทิศทางของเสาสัญญาณไปยังจุดที่ต้องการเร่งให้สัญญาณแรงได้ ซึ่งจุดที่เสาสัญญาณหันเข้าจะสามารถใช้งาน Wi-Fi ได้อย่างเสถียรมากกว่าจุดอื่น ๆ โดยแอคเซสพอยต์ประเภทนี้มักมีเสาสัญญาณที่ยื่นออกมาจากตัวเครื่อง และมีให้เลือกใช้ทั้งแบบ 1 เสา , 2 เสา , 4 เสา , 6 เสา และแบบเสาอากาศรอบทิศ เพื่อช่วยให้การกระจายสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น
สรุป
ความเร็วและความแรงของสัญญาณอินเตอร์เน็ตนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัว Access Point เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการเชื่อมต่อ เช่น สายแลนที่เชื่อมต่อจากอุปกรณ์สวิตซ์ หรือแม้กระทั่งความเร็วของ Port สวิตซ์ที่เชื่อมต่อ ดังนั้น ต้องตรวจสอบรายละเอียดของอุปกรณ์ให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ และหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านทุกท่านเข้าใจมากขึ้น
* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง