เร้าเตอร์ wifi ใส่ซิม เป็นอุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต ช่วยให้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้นในทุกที่ และยังช่วยแก้ไขในบางจุดที่เป็นพื้นที่อับสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันได้มีความก้าวหน้าไปมาก เพราะ Router หลายรุ่นสามารถใส่ซิมการ์ดได้แล้ว และรองรับค่าในหลายค่ายมือถือทั้ง AIS , TrueMove H หรือ Dtac อีกด้วย
ความแตกต่างระหว่าง เร้าเตอร์ wifi ใส่ซิม กับแบบไม่ใส่ซิม
เร้าเตอร์ wifi ใส่ซิม เป็น Router ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากซิมที่ใส่เข้าไป สัญญาณที่รับจึงมาจากเครือข่ายที่ซิมนั้นจับสัญญาณไว้ คล้ายกับการเปิดมือถือแต่ไม่สามารถโทรออกได้ เมื่อได้รับอินเทอร์เน็ตแล้วก็จะแชร์ต่อมายังอุปกรณ์เครื่องอื่น เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างสบายใจ หากถอดซิมออก เครื่องจะหยุดทำงานและไม่สามารถเชื่อมต่อได้ ทั้งนี้ อีกจุดเด่นสำคัญของ เร้าเตอร์ wifi ใส่ซิม คือ สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ทุกที่ เพราะมีแบตสำรองอยู่ในเครื่อง หากชาร์จเต็มจะสามารถใช้งานได้หลายชั่วโมง โดยไม่จำเป็นต้องอยู่เฉพาะบริเวณบ้าน หรือเสียบปลั๊กไฟไว้ตลอดเวลา
เร้าเตอร์ wifi ไม่ใส่ซิม ลักษณะของ Router จะเป็นแบบที่พบเห็นได้บ่อยในยุคที่เริ่มมีการพัฒนามากขึ้น โดยตัว Router ยังต้องเสียบกับสายแลนเพื่อดึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากสายสัญญาณเครือข่ายมาใช้งาน แล้วจึงส่งต่อไปยังอุปกรณ์ปลายทาง ในกรณีนี้จึงไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ เพราะตัวเครื่องต้องเชื่อมต่อกับสายสัญญาณเครือข่ายตลอดเวลา จุดเด่นจะเป็นระดับความเร็ว ทั้งการใช้งานและการดาวน์โหลดจะอยู่ในเกณฑ์สูง เท่ากับปริมาณจริงที่เจ้าของเครือข่ายได้ระบุเอาไว้
วิธีการเลือก เร้าเตอร์ wifi ใส่ซิม ให้ได้ประสิทธิภาพ
1. ตรวจสอบการเชื่อมต่อที่รองรับของเร้าเตอร์ wifi
การเชื่อมต่อเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตกับเร้าเตอร์ wifi จะมีด้วยกัน 2 ช่องทางหลัก ๆ นั่นก็คือ Wi-Fi กับ LAN ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้จะมีรายละเอียดที่เราต้องดูลึก ๆ อีกทีว่าการใช้งานของเรานั้นเพียงพอที่ตรงไหน
-
-
-
พอร์ตแลนของเร้าเตอร์ wifi
-
-
พอร์ตแลน หรือช่องเสียบสายแลน ในปัจจุบันอาจไม่ได้จำเป็นมากนัก เพราะผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายคนมักหันไปใช้ตัวเร้าเตอร์ wifi แบบที่ไม่ต้องต่อสายแลนกันมากกว่า เพราะสะดวกในการเชื่อมต่อ และมีอิสระในการวางตัวระบบมากกว่า สำหรับผู้ใช้งานที่ยังต้องการเรื่องความเสถียรและความนิ่งนั้น พอร์ตแลนยังถือเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่น่าใช้ ซึ่งหลายคนก็ให้ความไว้วางใจสูงมากกว่าแบบใส่ซิมในระดับหนึ่ง ดังนั้น หากต้องการใช้พอร์ตแลนอาจต้องดูเเล็กน้อยว่าจำนวนเพียงพอต่อการใช้งานหรือเปล่า และสเปกความเร็วอยู่ในระดับ Gigabit LAN หรือไม่
-
-
-
ช่องใส่ซิมของเร้าเตอร์ wifi
-
-
ในยุค 4G ที่การสื่อสารแบบไร้สายมีประสิทธิภาพสูง ตัวซิมแบบ 4G จึงเข้ามามีบทบาทในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ในกรณีที่ไม่สะดวกใช้อินเทอร์เน็ตแบบมีสาย ไม่ว่าจะเป็นแบบ ADSL หรือ Fiber Optic การใช้ซิมก็นับเป็นตัวเลือกที่ดีมาก รวมถึงในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายตัว Router บ่อย ๆ หรือในพื้นที่นั้นไม่ได้อยู่ในพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบมีสาย ตัวเลือกของการใช้อินเตอร์เน็ตแบบซิมการ์ดก็นับว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด
2. เลือกเราเตอร์ที่รองรับมาตรฐาน Wi-Fi AC
หากต้องการให้ความเร็วของอินเทอร์เน็ตพุ่งแรง และไม่เกิดปัญหาติดขัดระหว่างการใช้งาน แนะนำให้ตรวจสอบความเร็วสูงสุดที่ตัวเราเตอร์รองรับ รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เราเตอร์มี เพราะจะมีความสัมพันธ์กันกับความเร็วสูงสุดที่ตัวเราเตอร์สามารถทำได้นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบัน Wi-Fi AC ถือเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป แม้แต่สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ก็รองรับได้หมดแล้ว จึงควรซื้อเราเตอร์ที่รองรับมาตรฐาน Wi-Fi AC เป็นอย่างต่ำ
3. เลือกเร้าเตอร์ wifi จากคลื่นความถี่
หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องคลื่นความถี่ของเร้าเตอร์ wifi ที่มีทั้งแบบ 2.4 GHz และ 5 GHz ซึ่งความแตกต่างของทั้ง 2 คลื่นนี้ จะมีความถี่ดังนี้
-
-
-
ย่านความถี่ 2.4 GHz (คลื่นสัญญาณที่มีความถี่ต่ำ)
-
-
เป็นคลื่นวิทยุที่อุปกรณ์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนิยมใช้กับพวกอุปกรณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น IoT หรืออุปกรณ์ที่ยังไม่รองรับการใช้คลื่นความถี่ 5GHz เพราะอุปกรณ์ใหม่ ๆ อย่างแท็ปเล็ตหรือเกมคอนโซลก็รองรับ 5 GHz กันแทบหมดแล้ว ดังนั้น คลื่นความถี่ 2.4 GHz จะเหมาะกับอุปกรณ์บางประเภท หรือการใช้งานในพื้นที่ที่ต้องการส่งสัญญาณ Wi-Fi ในระยะไกล หรือไม่หนาแน่นนั่นเอง
-
-
-
ย่านความถี่ 5 GHz (คลื่นสัญญาณที่มีความถี่สูง)
-
-
เหมาะสำหรับใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องการความเร็วสูง และเหมาะกับพื้นที่ที่มีสัญญาณ Wi-Fi ที่หนาแน่น แต่ข้อเสียของย่านความถี่ 5 GHz คือ ระยะการกระจายตัวของสัญญาณจะไม่กว้างเท่า 2.4 GHz ทำให้เหมาะใช้งานในพื้นที่แคบ
4. ตรวจสอบคุณสมบัติของเร้าเตอร์ wifi
ความเร็วไม่ได้มีเพียงแค่แพ็คเกจอินเทอร์เน็ต หรือเสาอากาศของเครื่องเร้าเตอร์ wifi เพียงเท่านั้น แต่ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่ต้องตรวจสอบด้วย ทั้งในเรื่องของคุณสมบัติเครื่องและตำแหน่ง หรือจุดติดตั้ง ยกตัวอย่างดังนี้
-
-
- มาตรฐานหลักของสายแลน คือ IEEE 802.11 สามารถแบ่งออกได้หลายระดับ คือ b · a · g · n · ac ตามลำดับ โดยปัจจุบันจะใช้ IEEE 802.11ac
- จำนวนของเครื่องหรืออุปกรณ์ที่รองรับ
- Bandwidht ที่รองรับ
- Beamforming ช่วยเบนสัญญาณไปหาอุปกรณ์ให้เสถียรมากขึ้น และทำให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะใช้กับอุปกรณ์จำนวนที่ไม่มาก เพราะตัว Router มีข้อจำกัดในการใช้เสาสัญญาณ
- MU-MIMO (Multi-user Multiple Input Multiple Output) รับส่งข้อมูลปริมาณมากได้พร้อมกันหลายเครื่อง
- NAS หลัก ๆ จะมี 2 ทางเลือก ทางเลือกแรก คือ ซื้ออุปกรณ์ NAS มาต่อกับเราเตอร์ด้วยพอร์ตแลน ส่วนอีกทางคือ นำ Hard Drive มาเชื่อมต่อกับเราเตอร์ทางช่อง USB ซึ่งหากตัวเราเตอร์มีฟีเจอร์ NAS ในตัวเอง จะมีช่องต่อ USB ด้านหลังเครื่องมาให้ด้วย
- ความเร็วสูงสุดที่รองรับ แม้ว่าความเร็วอินเทอร์เน็ตจะขึ้นอยู่กับแพ็คเกจที่เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นค่าย TrueMove H , AIS , DTAC , 3BB หรือ CAT ก็ตาม แต่หากในอนาคตมีการเปลี่ยนแพ็คเกจที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น เร้าเตอร์ wifi ที่ใช้อยู่ต้องรองรับความเร็วนั้นด้วย อาจเลือกไวไฟที่รองรับความเร็วสูงเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องนี้
-
เคล็ดลับสำหรับติดตั้งเร้าเตอร์ wifi
ไม่ว่า เร้าเตอร์ wifi ใส่ซิม ที่เลือกใช้จะมีความสามารถสูงมากแค่ไหน ก็มีโอกาสที่ความเร็วและประสิทธิภาพจะลดลงตามสภาพแวดล้อมที่ติดตั้ง แนะนำให้ใช้เร้าเตอร์ wifi ที่สามารถตั้งค่า หรือดูสถานะได้จากแอพพลิเคชั่นที่ใช้ได้ทั้งสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ เพราะสามารถเช็คความเร็วและปริมาณสัญญาณการรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังตรวจสอบสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
-
- ตรวจสอบสิ่งกีดขวางโดยรอบ หากมีกำแพงขวางกั้นระหว่างเราเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ จะทำให้การเชื่อมต่อเป็นไปได้ยาก และสัญญาณอ่อนลง ปัญหานี้มักเกิดกับคอนโดหรืออพาร์ทเมนต์ ซึ่งมีโครงสร้างเป็นเหล็กเส้น ทำให้รบกวนสัญญาณได้มากกว่าบ้านไม้ แนะนำให้ติดตั้งเราเตอร์ไร้สายในจุดที่สัญญาณส่งถึงทั่วทุกจุดและไม่มีสิ่งกีดขวาง ที่สำคัญ อย่าวางใกล้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นอื่นที่ส่งสัญญาณรบกวน เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น หรือเตาไมโครเวฟ เป็นต้น
- ติดตั้งตัวกระจายสัญญาณไวไฟ หากบริเวณที่ต้องใช้งานไกลเกินไป เพราะโดยปกติเราเตอร์สามารถส่งสัญญาณได้ระดับหนึ่ง รัศมีประมาณ 10 – 15 เมตร หรือภายในบ้าน 2 – 3 ชั้นขึ้นไป แต่หากไกลกว่านั้น หรือมีจำนวนชั้นเยอะ ควรติดตั้งตัวกระจายสัญญาณไวไฟเพื่อให้ได้สัญญาณที่ครอบคลุมได้กว้างขึ้น และครอบคลุมการใช้งาน และหลีกเลี่ยงติดตั้งใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ส่งสัญญาณรบกวนด้วย
- เปลี่ยนช่องสัญญาณที่ใช้ หากรู้สึกหน่วงหรือช้า ในกรณีที่ใช้งานแล้วรู้สึกช้าอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น มีผู้ใช้งานสัญญาณย่านนั้นมากกว่าปกติ แนะนำให้เปลี่ยนช่องสัญญาณในเราเตอร์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเล่นอินเทอร์เน็ตที่ช้าและขาดการเชื่อมต่อในที่สุด
- อัปเดตเฟิร์มแวร์หรือซอฟต์แวร์ของเร้าเตอร์ wifi อย่างสม่ำเสมอ เป็นปัญหาสุดคลาสสิกที่ผู้ใช้งานทั่วไปไม่ค่อยทราบ คือ การอัพเดตเฟิร์มแวร์หรือซอฟต์แวร์ของเร้าเตอร์ wifi เหล่านั้น ทำให้สามารถตั้งค่าได้ง่ายขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพของเราเตอร์ได้อีกระดับหนึ่ง โดยเฟิร์มแวร์เหล่านี้สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของผู้พัฒนา
สรุป
เร้าเตอร์ wifi ใส่ซิม แต่ละรุ่นจะมีความหลากหลาย ทั้งในเรื่องของคุณสมบัติและประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นความเร็วพอร์ตแลน พอร์ต USB หรือเสาสัญญาณ ควรเลือกเร้าเตอร์ wifi ให้ตรงกับจุดประสงค์การใช้งาน และควรติดตั้งเร้าเตอร์ wifi ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี เนื่องจากหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เราเตอร์จะร้อน แนะนำให้พัก 10 นาที แล้วค่อยเปิดใช้งานใหม่อีกครั้ง
* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง