หากพูดถึง เครื่องขยายสัญญาณ ในปัจจุบัน Wi-Fi ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคนในยุคนี้เลยก็ว่าได้ เพราะแทบจะทุกบ้านทุกอาคารต้องติดตั้งตัว Router ซึ่งบางครั้งอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อนั้นมีเยอะจนเกินไป หรืออาจกระจายสัญญาณได้ไม่ทั่วถึงเครื่องขยายสัญญาณ หรือตัวขยายสัญญาณ Wi-Fi จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์การใช้งานในกรณีที่พบเจอปัญหาได้
เครื่องขยายสัญญาณ คืออะไร ?
เครื่องขยายสัญญาณ หรือ ตัวกระจายสัญญาณ Wi-Fi เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายสัญญาณ Wi-Fi ให้กว้างและครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ได้มากขึ้น เช่น ที่พักอาศัยมี 3 ชั้น แต่ตัวเครื่องขยายสัญญาณ หรือ Router อยู่ชั้น 1 สัญญาณอินเทอร์เน็ตบริเวณชั้น 3 จะอ่อนมากจนอาจไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจใช้งานได้แต่จะไม่ค่อยดีนัก หากใช้ตัวขยายสัญญาณจะช่วยดึงสัญญาณจากชั้น 1 มาชั้น 3 โดยใช้อุปกรณ์เพิ่มเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
เครื่องขยายสัญญาณนั้นจะไม่สามารถปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ได้ และยังต้องใช้ควบคู่ไปกับเราเตอร์ด้วย โดยส่วนใหญ่ตัวเครื่องจะมีขนาดเล็ก และมาพร้อมกับไฟแสดงสถานะ แถมยังกินไฟน้อยมาก ๆ เพียงแค่ใช้ปลั๊กไฟและพอร์ตแลนจำนวน 1 พอร์ต เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ บริเวณใกล้เคียง ที่สำคัญคือติดตั้งง่าย ใช้งานสะดวก ราคาไม่แพง มักนิยมติดตั้งภายในอาคารสูง หรือพื้นที่ที่มีบริเวณกว้าง และมีจุดสัญญาณ Wi-Fi ที่ไม่ครอบคลุม
เครื่องขยายสัญญาณ เลือกอย่างไร
รายละเอียดที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ เครื่องขยายสัญญาณ นั้นมีอยู่มากมาย รวมถึงศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก ซึ่งในบทความนี้เราได้ทำการคัดมาเฉพาะส่วนที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานเครื่องขยายสัญญาณภายในบ้านและออฟฟิศขนาดเล็กมาให้ดังนี้
1. เลือกเครื่องขยายสัญญาณจากคลื่นความถี่ที่รองรับ และความเร็วสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูล
หากเลือกซื้อเครื่องขยายสัญญาณ สิ่งแรกที่ควรคำนึงเลยก็คือ คลื่นความถี่ที่รองรับ และความเร็วสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูล เพราะสิ่งเหล่านี้คือ ระยะทาง ความเร็วในการใช้งาน รวมถึงจำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อได้ โดยมาตรฐานคลื่นความถี่ของ Wi-Fi ในปัจจุบันจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ 2.4 GHz และ 5 GHz
-
-
-
2.4 GHz
-
-
เป็นคลื่นความถี่ที่ใช้ทั่วไป สามารถรองรับความเร็วได้สูงสุด 300 – 600 Mbps ซึ่งหากเทียบกับ 5 GHz แล้ว จะมีความเร็วที่ต่ำกว่า อีกทั้งยังมีความหนาแน่นที่สูง เหตุเพราะอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นความถี่นี้มีจำนวนมาก และมีช่องสัญญาณที่สามารถใช้ได้เพียงไม่กี่ช่องเท่านั้น ทำให้บางครั้งอินเทอร์เน็ตอาจช้าหรือเกิดการกระตุก แต่คลื่น 2.4 GHz จะสามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลมากกว่า แถมทะลุสิ่งกีดขวางได้ดี เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไปในบ้านที่มีอุปกรณ์น้อย หรือต้องการให้สัญญาณครอบคลุมกว้างมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน อุปกรณ์ IoT หลายชนิดจะเจาะจงใช้เฉพาะแค่คลื่น 2.4 GHz ทำให้การใช้งานตัวคลื่น 2.4 GHz ยังจำเป็นและเปิดใช้งานอยู่
-
-
-
5 GHz
-
-
เป็นคลื่นความถี่ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาจากการใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz ซึ่งตัวคลื่นความถี่ 5 GHz สามารถรองรับความเร็วได้สูงสุด 1200 – 1300 Mbps ทำให้รับ-ส่งข้อมูลได้เยอะและรวดเร็วกว่า แต่ก็มีข้อเสียคือ ช่วงความถี่ของคลื่นสั้น และความกว้างในการกระจายสัญญาณนั้นจะน้อยกว่า 2.4 GHz แต่หากมีสิ่งกีดขวางอย่างกำแพงหรือเพดานก็อาจทำให้ประสิทธิภาพนั้นลดลง เหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องรับ-ส่งข้อมูลจำนวนมากอย่างการดูหนังหรือเล่นเกม รวมถึงพื้นที่ที่มีการใช้งานคลื่นความถี่ 2.4 GHz อย่างแน่นหนา
เครื่องขยายสัญญาณ โดยทั่วไปจะมีแค่เฉพาะ 2.4 GHz หรือ 5 GHz เท่านั้น แต่หากรองรับทั้ง 2 คลื่น สุดท้ายก็สามารถเลือกใช้งานได้เพียงคลื่นเดียวเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบัน เครื่องขยายสัญญาณบางรุ่นสามารถรองรับได้ทั้ง 2 แบบ และใช้งานพร้อมกันได้ เรียกว่า Dual-Band ซึ่งช่วยลดความหนาแน่นของอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม หากต้องการใช้คลื่นความถี่ 5 GHz แนะนำให้ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ด้วยว่ารองรับ 5 GHz หรือไม่
2. ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟของเครื่องขยายสัญญาณ
ในปัจจุบัน แหล่งจ่ายไฟของเครื่องขยายสัญญาณจะมีด้วยกัน 2 แบบ ซึ่งก็คือ แบบที่มีปลั๊กติดกับตัวเครื่องโดยตรง กับแบบต่อสายเคเบิล โดยประเภทแรกคนมักนิยมใช้มากกว่า เพราะใช้งานง่าย ติดตั้งไม่นาน เพียงแค่เสียบปลั๊กไฟที่ด้านหลังตัวเครื่อง และติดตั้งตามคู่มือของแต่ละยี่ห้อ เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานได้เลยทันที ตัวเครื่องจะมีขนาดเล็ก กะทัดรัด ทำให้ประหยัดไฟได้มากกว่า
ส่วนประเภทที่ 2 จะมีขนาดที่ใหญ่คล้ายกับตัว Router และต้องต่อสายปลั๊กไฟเข้ากับตัวเครื่อง แถมยังใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากกว่า ซึ่งบางครั้งวิธีการติดตั้งอาจดูซับซ้อน แนะนำให้เลือกใช้แบบปลั๊กเสียบติดกับตัวเครื่อง เพราะสะดวก ใช้งานง่าย และประหยัดเนื้อที่แถมไม่กินไฟอีกด้วย
3. ตรวจสอบพอร์ตแลนของตัวเครื่องขยายสัญญาณ
เครื่องขยายสัญญาณแบบมีปลั๊กติดกับตัวเครื่องโดยตรง มักมีพอร์ตเสียบสายแลนมาให้ 1 พอร์ต โดยพอร์ตแลนนั้นช่วยให้สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ได้อย่างเสถียรและสะดวกมากขึ้น โดยที่ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลนั้นไม่ลดลง แต่หากต้องการเน้นการใช้งานแบบไร้สาย หรือไม่มีอุปกรณ์ที่ต้องเชื่อมต่อกับสายแลนในบริเวณใกล้เคียง สามารถเลือกซื้อแบบไม่มีพอร์ตได้เลย (แนะนำให้ตรวจสอบให้ดีก่อนซื้อ)
4. เลือกเครื่องขยายสัญญาณจากความสะดวกในการตั้งค่า
ก่อนเริ่มใช้งานเครื่องขยายสัญญาณ ควรติดตั้งและตั้งค่าตัวเครื่องก่อน ซึ่งบางรุ่นอาจมาพร้อมปลั๊กและปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง หรือปุ่ม WPS (Wi-Fi Protected Setup) สามารถติดตั้งผ่านสมาร์ทโฟนได้เลยทันที และบางรุ่นต้องติดตั้งผ่านคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันเราจะเริ่มเห็นได้น้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากติดตั้งยาก นอกจากนี้ บางรุ่นยังมีปุ่มอื่น ๆ เช่น RE หรือรีเซ็ตเครื่อง อย่างไรก็ตาม แนะนำให้เลือกประเภทที่มีจำนวนปุ่มที่น้อย และสามารถติดตั้งได้ทันที เพราะตัวเครื่องใช้งานง่าย และลดปัญหาในการเชื่อมต่อบางอย่างได้ด้วย
วิธีแก้ไขเบื้องต้น
ส่วนใหญ่ ปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ ในการใช้เครื่องขยายสัญญาณก็คือ ไม่สามารถใช้งาน หรือไม่สามารถเชื่อมต่อกับตัวเครื่องได้ ซึ่งสิ่งแรกที่ควรทำคือ ตรวจดูว่าได้ทำตามขั้นตอนตามคู่มือ หรือวิธีการติดตั้งหรือไม่ ตำแหน่งสถานที่ในการติดตั้งเครื่องมีสัญญาณอ่อนเกินไปหรือเปล่า ไฟแสดงสถานะติดและพร้อมใช้งานแล้วหรือไม่ และที่สำคัญ ไม่ควรวางอุปกรณ์ให้ห่างจากตัวเครื่องมากจนเกินไป และหลีกเลี่ยงการวางในสถานที่ที่มีอุปกรณ์ไร้สายอื่น ๆ ที่กำลังทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะอาจเชื่อมต่อได้ลำบาก
นอกจากนี้ การตรวจตัว Router ถือเป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เพราะบางครั้งปัญหาอาจไม่ได้เกิดจากตัวขยายสัญญาณ หากดูแล้วว่าตัว Router ไม่ได้มีปัญหา ให้ลองถอดปลั๊กเครื่องขยายสัญญาณแทน และรอสัก 5 นาที ก่อนเสียบเข้าไปใหม่เพื่อให้เครื่องพัก ทั้งนี้ หากลองทำตามขั้นตอนดังกล่าวแล้วไม่เกิดผลเปลี่ยนแปลง แนะนำให้ติดต่อตัวแทนจำหน่าย หรือศูนย์เพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติม
สรุป
การติดตั้ง เครื่องขยายสัญญาณ ในบ้านไม่ได้การันตีว่าความเร็วของอินเทอร์เน็ตนั้นจะเพิ่มขึ้น เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เช่น ผู้ให้บริการ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับติดตั้งอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ รวมถึง Router และสัญญาณความหนาแน่นของคลื่นในบริเวณใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ไปจนถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบที่ติดตั้งตัวขยายสัญญาณร่วมด้วย
* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง