UPS Rack เป็นรูปทรง หรือ Form Factor ชนิดหนึ่งของเครื่องสำรองไฟที่นิยมใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ในกลุ่ม Data Center ซึ่งในบทความนี้เราจะมาอธิบายว่าเจ้าตัว UPS Rack นั้นคืออะไร มีลักษณะรูปร่างหน้าตาอย่างไร และใช้ร่วมกับอุปกรณ์ประเภทไหน พร้อมอธิบายถึงขั้นตอนการติดตั้งเบื้องต้นให้แบบคร่าว ๆ
UPS Rack คืออะไร ?
Rack UPS คือ Form Factor ของเครื่องสำรองไฟชนิดหนึ่ง ถูกออกแบบมาเพื่อติดตั้งในตู้ Rack ร่วมกับเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในห้อง Datacenter ซึ่งมักใช้เพื่อสำรองไฟให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์ , อุปกรณ์ Storage , อุปกรณ์เครือข่าย และอุปกรณ์สำคัญอื่น ๆ การออกแบบนี้เริ่มมีการพัฒนาในช่วงปี 1980 – 1990 ซึ่งเป็นยุคที่ Rack Standard ได้รับความนิยม และนำไปใช้ในห้อง Datacenter อย่างแพร่หลาย ดังนั้น จึงมีการปรับแต่ง UPS ให้มีรูปทรงที่ตอบโจทย์ และรองรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ในตู้ Rack Cabinet
UPS Rack มีลักษณะเป็นแบบไหน
UPS Rack จะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบน ๆ ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถติดตั้งใส่เข้าไปในตู้ Server Rack หรือ Cabinet ได้ โดยจะมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ขนาดมาตรฐานของ UPS Rack
UPS Rack มักมีหน้าขนาดกว้างอยู่ที่ 19 นิ้ว เพื่อให้สามารถติดตั้งเข้ากับตู้ Rack ขนาด 19 นิ้ว (48.26 ซม.) ซึ่งเป็นความกว้างมาตรฐานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป มีการออกแบบมาให้ใช้ติดตั้งในรูปแบบ Rack Mount สำหรับความสูงของ UPS Rack จะใช้หน่วยวัดที่เรียกว่า Rack Units หรือเรียกแบบย่อ ๆ ว่า U โดยความสูงของ 1U จะเท่ากับ 1.75 นิ้ว (4.45 ซม.) และแต่ละรุ่นจะมีขนาด U ที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งได้คร่าว ๆ เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
-
-
- 1U (4.45 ซม.) : รุ่นขนาดบาง กะทัดรัด สำรองไฟได้ไม่เยอะมาก
- 2U (8.90 ซม.) : รุ่นขนาดกลางที่มีความสูงขึ้นมาหน่อย ทำให้มีพื้นที่ภายในเครื่องมากขึ้น มักมีความจุแบตที่เยอะขึ้น
- 3U (13.35 ซม.) ขึ้นไป : เป็น UPS ขนาดใหญ่ กินพื้นที่ในตู้ Rack พอสมควร(แลกมาด้วยการสำรองไฟที่ยาวนานขึ้น มี Runtime ที่เยอะขึ้น)
-
ส่วนความลึกของ UPS นั้นจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละโมเดล โดยทั่วไปจะมีความลึกประมาณ 60 – 80 ซม. ซึ่งเป็นขนาดสำคัญ เพราะต้องเช็คให้แน่ใจว่ามีความยาวเกินกว่าความลึกของตู้ Rack ที่จะนำไปติดตั้งหรือไม่
2. องค์ประกอบในแต่ละด้าน
ด้านหน้าของตัวเครื่องจะมีจอ LCD หรือไฟ LED แสดงสถานะ เพื่อใช้ตรวจสอบสถานะต่าง ๆ ของตัวเครื่อง พร้อมด้วยปุ่มควบคุม เช่น ปุ่ม Power , Reset หรือ Self-Check สำหรับป้อนคำสั่ง นอกจากนี้ บางรุ่นอาจมีแผงระบายอากาศติดตั้งอยู่ด้านหน้าอีกด้วย ส่วนด้านหลังของตัวเครื่องจะมีปลั๊ก Power Outlet สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สำรองไฟ หรือบางรุ่นอาจมีพอร์ตอื่น ๆ เช่น USB , Ethernet หรือ RS232 สำหรับการจัดการเพิ่มเติม
3. น้ำหนักและการพกพา
UPS ชนิดนี้ จะมีน้ำหนักเยอะพอสมควร โดยเฉพาะโมเดลขนาดใหญ่ที่มีความจุเยอะ ๆ และไม่นิยมเคลื่อนย้ายสถานที่ใช้งานบ่อย ๆ เพราะตัวเครื่องจะถูกติดตั้งยึดกับตู้ Cabinet ด้วยขา Mounting Rail
UPS Rack มีลักษณะแบบไหนบ้าง
UPS ในตลาด นอกจากชนิดแบบ Rack แล้ว ยังมีแบบชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งในแต่ละแบบจะถูกออกแบบมาเพื่อปัจจัยในการใช้งานที่ต่างกัน ดังนี้
-
-
-
Rack-Mounted UPS
-
-
ถูกออกแบบมาเพื่อสำหรับติดตั้งในตู้ Cabinet ขนาด 19 นิ้ว มีลักษณะเป็นกล่องแบน ๆ มักใช้ในห้องเซิร์ฟเวอร์
-
-
-
Tower UPS
-
-
ถูกออกแบบมาให้ใช้งานแบบตั้งบนพื้น หรือบนโต๊ะ มีลักษณะคล้าย ๆ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Desktop PC และมักนิยมใช้ในออฟฟิศขนาดเล็ก , ตามบ้าน หรือสำหรับอุปกรณ์บางชนิด โดยเฉพาะ PC หรือ Workstation
-
-
-
Convertible UPS
-
-
เป็นดีไซน์แบบ Hybrid ที่ทำให้ตัวเครื่องสามารถปรับการใช้งาน ติดตั้งได้เป็นทั้งแบบ Tower และ Rack ตามแล้วแต่สถานการณ์ ทำให้มีความยืดหยุ่น และสามารถปรับแต่งได้ง่าย
-
-
-
Standalone UPS
-
-
เป็น UPS ขนาดเล็ก กะทัดรัด มักใช้ติดตั้งบนโต๊ะ ยึดกับกำแพง หรือยึดไว้ใต้โต๊ะได้เลย มักมีราคาถูก สำรองไฟได้ไม่เยอะมาก นิยมใช้กันตามบ้านทั่วไป หรือออฟฟิศขนาดเล็ก และมีข้อดีคือ ติดตั้งง่าย แถมน้ำหนักเบา
UPS Rack ใช้กับอะไรได้บ้าง
Rack UPS มักนิยมใช้ในกลุ่ม Datacenter หรือ ห้องเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ต้องการความ High Availability เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งอุปกรณ์ที่มักนิยมใช้กับเครื่องสำรองไฟชนิดนี้ ได้แก่
-
-
-
เซิร์ฟเวอร์ หรือคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
-
-
เซิร์ฟเวอร์เกือบทุกรุ่น โดยเฉพาะโมเดลที่มีสเปคแรง ๆ มักมี Form Factor เป็นแบบ Rack และนิยมติดตั้งใช้งานในตู้ Cabinet ดังนั้น การสำรองไฟที่เหมาะสมที่สุด คือการใช้เครื่องสำรองไฟที่ติดตั้งในตู้เดียวกันหรือใกล้เคียง
-
-
-
เน็ตเวิร์ค
-
-
อุปกรณ์เครือข่ายอย่าง สวิตช์ หรือเราเตอร์หลาย ๆ รุ่น มักมีการออกแบบมาให้ติดตั้งในตู้ Rack ซึ่งได้ถูกนำไปติดตั้งในตู้ควบคู่กับ Rack UPS รวมถึงอุปกรณ์ Security อื่น ๆ อย่าง Firewall ด้วย
-
-
-
Storage
-
-
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่อย่าง NAS หรือ SAN ก็ถือเป็นอุปกรณ์ IT อีกชนิด ที่มีการออกแบบมาให้เป็นแบบ Rack Form Factor และมักถูกนำไปติดตั้งใช้งานในตู้ Cabinet
UPS Rack มีข้อดีอะไรบ้าง
- ประหยัดพื้นที่
- บริหารจัดการได้ง่าย
- ช่วยให้ง่ายต่อการระบายอากาศ
- เพิ่มขยายได้อย่างยืดหยุ่น
วิธีการติดตั้ง UPS Rack กับตู้ Cabinet
1. เลือกตู้ Cabinet ขนาดที่เหมาะสมกับตัว UPS
-
-
- เช็คให้แน่ใจว่าตู้ที่ใช้เป็นรุ่นที่ระบุว่ามีความกว้างตามมาตรฐานคือ 19 นิ้ว (48.26 ซม.)
- เช็คว่ามีพื้นที่แนวตั้งเหลือพอสำหรับใส่ UPS เพิ่ม โดยดูขนาด UPS ว่าสูงกี่ U แล้วจึงเช็คกับตู้ Cabinet ว่ามีพื้นที่แนวตั้งเหลือเพียงพอหรือไม่
- เช็คความลึกของตู้ โดยตู้ Rack รุ่นต่าง ๆ จะมีมาตรฐานความลึกอยู่ที่ 60 – 120 ซม. ในขณะที่ Rack UPS จะมีความยาวอยู่ที่ 60 – 90 ซม.
-
2. เตรียมพื้นที่ภายในตู้ให้พร้อม
-
-
- หากตู้เป็นแบบวางพื้น ให้วางบนพื้นที่ที่ขนาน แข็งแรง แล้วลองขยับดูว่าเคลื่อนหรือโยกหรือไม่ เพื่อเช็คว่าเสถียรดี ส่วนตู้ที่เป็นแบบแขวนหรือยึดผนัง ต้องเช็คให้แน่ใจว่าติดตั้งเรียบร้อย และแข็งแรง
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตู้มีการระบายอากาศที่เพียงพอ ควรอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพราะเวลา UPS ทำงาน จะเกิดความร้อนทั้งภายใน และโดยรอบตัวเครื่องพอสมควร
-
3. ติดตั้งขา Rack กับตู้ Cabinet
-
-
- Rack UPS ส่วนใหญ่ จะมาพร้อมกับอุปกรณ์ขายึดที่เรียกว่า Mounting Rails หรือ ขายึดแรค ซึ่งจะมีลักษณะเป็นแผ่นยาว ๆ หรือแผ่นเข้ามุม 90 องศา ไว้ยึดกับด้านข้างภายในของตู้
- ติดตั้งได้ง่าย ๆ โดยนำขา Rack ยึดกับภายในตู้ด้วยน๊อต บนตำแหน่งที่ต้องการติดตั้ง จากนั้นให้ลองเอามือจับโยกไป-มาดูว่าแข็งแรงพอแล้วหรือยัง
-
4. ติดตั้ง UPS เข้ากับขาแรคในตู้
-
-
- ให้ช่วยกันยกตัวเครื่องอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป และวางบนขายึดแล้วสไลด์เข้าไป ต้องเช็คให้ดีว่าตอนเลื่อน Slide นั้นมีความลื่นไหลหรือไม่ หากติดขัด หรือสไลด์ฝืด เข้าไม่ได้ นั่นแปลว่าอาจวางผิดจุด
- เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้ว ส่วนใหญ่ขา Rack จะมีตัวยึดให้กดเพื่อยึดกับตัวเครื่องสำรองไฟ หากรุ่นไหนไม่มี จะมีช่องให้ไขน๊อต ให้หมุนยึดให้เรียบร้อย
-
สรุป
Rack UPS เป็นเครื่องสำรองไฟที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบน ๆ โดยออกแบบมาเพื่อติดตั้งในตู้ Cabinet ขนาด 19 นิ้ว ที่ใช้ในห้องเซิร์ฟเวอร์ หรือห้อง Datacenter เพื่อจัดเก็บอุปกรณ์ IT ต่าง ๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์ , NAS , Switch และอื่น ๆ โดยขนาดของเครื่อง Rack UPS จะวัดจากความสูงในหน่วย U (1U = 1.75 นิ้ว นั่นเอง
* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง