RAM เป็นชิ้นส่วนสำคัญในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำที่เชื่อมต่อโดยตรงกับ CPU หากไม่มีแรม คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ปกติ มีคุณสมบัติในการรับ-ส่งข้อมูล และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งานอีกด้วย ดังนั้น การเลือกแรมที่เหมาะสมกับอุปกรณ์และลักษณะการใช้งาน รวมถึงตรงตามคุณสมบัติของ CPU และเมนบอร์ด จะช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วและลื่นไหลมากขึ้น
RAM คืออะไร ?
RAM (Random-access Memory) คือ หน่วยความจำระยะสั้นที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ก ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและชุดคำสั่งชั่วคราวขณะเครื่องกำลังทำงาน เไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการรับหรือส่งข้อมูลก็ตาม ในปัจจุบัน แรมที่วางขายจะมีขนาดและความจุให้เลือกใช้งานหลายระดับ ยิ่งมีความจุหรือขนาดที่สูง คอมพิวเตอร์ก็จะทำการเขียน-อ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง แต่ก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ที่ทำงานร่วมกันด้วย
RAM มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
- SRAM
RAM ประเภทนี้จะมีความเร็วมากกว่าแบบ DRAM และใช้พลังงานน้อยกว่า ซึ่งมาพร้อม Transistor 6 ตัว เพื่อใช้เก็บข้อมูลในเซลล์หน่วยความจำ และใช้ควบคุมจัดการสิ่งที่จัดเก็บไว้นั่นเอง - DRAM
เป็นหน่วยความจำสำรองที่คอมพิวเตอร์จะขาดไม่ได้เลย เพราะหากไม่มีหน่วยความจำแรม เครื่องคอมพิวเตอร์จะเปิดไม่ติด จะพบอยู่ทั้งใน PC , โน๊ตบุ๊ค , แล็ปท็อป , แท็บเล็ต นอกจากนี้ยังเจอในอีกหลากหลายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์อีกด้วย - SDRAM
แรมตัวนี้จะเด่นในเรื่องของความเร็ว และทำงานร่วมกับ CPU ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำงานโดยเชื่อมกับ System Clock ของซีพียู และระบบบัสในคอมพิวเตอร์ จะใช้สัญญาณเหล่านี้เพื่อควบคุมการเขียน-อ่านข้อมูล แต่จะมีขอบเขตการป้อนข้อมูลเพียง 1 หน่วยเท่านั้น ซึ่งจะน้อยกว่า DDR RAM ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน - DDR RAM
ถือเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ส่วน RAM DDR3 จะยังมีใช้อยู่บ้างในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า โดยจะมาพร้อมกับการเพิ่มความเร็วของอัตราการส่งข้อมูลเป็น 2 เท่า จาก SDRAM และยังมีรุ่นใหม่ ๆ แยกย่อยออกมาเพื่อเพิ่มความเร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย
RAM มีวิธีการเลือกอย่างไร ?
1. ดูจากฟอร์มแฟคเตอร์ของ RAM
ในปัจจุบัน RAM ที่วางจำหน่ายจะมีฟอร์มแฟคเตอร์อยู่ 2 ประเภท ได้แก่ DIMM และ SO-DIMM สองประเภทนี้จะแบ่งออกเป็นลักษณะย่อย แต่การนำมาใช้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทนี้เท่านั้น ซึ่งการนำแรมมาใช้งาน ควรตรวจสอบฟอร์มแฟคเตอร์ให้เหมาะสมด้วย
-
- DIMM (Dual In-line Memory Module) สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
RAM รูปแบบนี้ มักพบเห็นได้มากกว่า จะมีลักษณะขนาดยาว และมีเขี้ยวที่ตรงกับสล็อตบนเมนบอร์ด ก่อนใช้งานควรตรวจสอบความเข้ากันได้ของเมนบอร์ดด้วย ส่วนข้อดีของแรมลักษณะนี้คือ สามารถถอดและเปลี่ยนได้ง่าย หากเกิดความเสียหาย สามารถหามาเปลี่ยนได้ด้วยตัวเอง - SO-DIMM (Small Outline DIMM) สำหรับโน้ตบุ๊ค
จะมีขนาดเล็กกว่า RAM DIMM ขนาดของแรมจะเข้ากับสล็อตบนเมนบอร์ดของโน้ตบุ๊คพอดี แต่การเปลี่ยนแรมในลักษณะนี้จะยุ่งยากมากกว่า และต้องใช้ทักษะเฉพาะทางถึงจะเปลี่ยนด้วยตัวเองได้ โดยปกติแล้ว แรมลักษณะนี้จะถูกติดตั้งอยู่ในโน้ตบุ๊ค ทำให้ไม่นิยมขายแยกเพื่อนำมาติดตั้งในภายหลัง
- DIMM (Dual In-line Memory Module) สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
2. ตรวจสอบความจุของ RAM ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
RAM ที่มีความจุต่างกัน เหมาะสำหรับใช้งานที่ต่างกันออกไป และอย่างที่บอกไปข้างต้น ก่อนนำแรมมาใช้งาน ควรตรวจสอบความต้องการหรือจุดประสงค์ของตัวเองก่อนว่าต้องการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานในรูปแบบไหน เพื่อจะได้เลือกแรมที่มีความจุที่เหมาะสมมาใช้งานนั่นเอง ซึ่งจะมีดังนี้
-
- RAM 8 GB – 16 GB สำหรับใช้งานทั่วไป และงานเอกสารเบื้องต้น
- RAM 16 GB – 32 GB สำหรับใช้เล่นเกม
- RAM 32 GB ขึ้นไป สำหรับทำงานเฉพาะด้าน เช่น งานกราฟิก หรือตัดต่อวิดีโอ
3. ตรวจสอบ DDR และ Bus Speed ให้เหมาะสมกับฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานร่วมด้วย
สิ่งสำคัญในการนำ RAM มาใช้งาน คือ ตรวจสอบ DDR และ Bus Speed สำหรับ DDR จะเป็นอัตราการส่งข้อมูล ซึ่งปัจจุบันจะมีตั้งแต่ DDR1 – DDR5 แต่แรมที่นิยมนำมาใช้งานจะเป็น DDR4 และ DDR5 การตรวจสอบ DDR ต้องตรวจสอบควบคู่ไปกับ CPU และเมนบอร์ดด้วย ส่วน Bus Speed จะเป็นตัวเลขที่แสดงความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล
-
- DDR4
เป็นมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน จะมีความเร็วอยู่ที่ 8 Bit Prefetct ในขณะเดียวกันก็มีอัตราการถ่ายโอนข้อมูล 1,600 MT/s – 3,200 MT/s ซึ่งเพียงพอต่อการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ตั้งแต่การใช้งานทั่วไปจนถึงการนำมาใช้ประกอบการเล่นเกมได้ - Bus Speed ที่อยู่บน RAM DDR4
จะมีความเร็วเริ่มต้นที่ 800 MHz , 1600 MHz , 2133 MHz , 2400 MHz , 2666 MHz , 2933 MHz และ 3200 MHz โดยบางรุ่นจะมีความเร็วสูงสุดถึง 5000 MHz เลยทีเดียว - DDR5
เป็นมาตรฐานที่ใหม่กว่า และทำงานได้รวดเร็วกว่า แต่ก็มีราคาที่สูงกว่ามากเช่นกัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความเร็วในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เช่น เล่นเกมระดับไฮเอนด์ ทำงานกราฟิก หรือตัดต่อวิดีโอ และมีความเร็ว 16 Bit Prefetct และอัตราการถ่ายโอนข้อมูล 3,200 MT/s – 8,400 MT/s - Bus Speed ที่อยู่บน RAM DDR5
มีความเร็วเริ่มต้นที่ 4800 MHz , 5200 MHz , 6000 MHz และบางรุ่นจะมีความเร็วสูงถึง 8000 MHz เลยทีเดียว
- DDR4
4. พิจารณาค่า CL (CAS Latency) ควบคู่กับ Bus Speed
ในการเลือก RAM สำหรับใช้งาน ค่า CL (CAS Latency) และ Bus Speed ควรพิจารณาควบคู่กันไป เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ค่า CL คือเวลาหน่วงในการเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำ ยิ่งค่าต่ำจะยิ่งตอบสนองเร็วขึ้น ขณะที่ Bus Speed จะเป็นความเร็วในการส่งข้อมูล
-
- หากค่า CL ต่ำ แต่มีค่า Bus Speed สูง RAM จะทำงานได้อย่างรวดเร็ว
- หากค่า CL สูง แต่มีค่า Bus Speed ต่ำ RAM จะทำงานได้ช้า
5. ตรวจสอบจำนวนช่องเสียบ (Slots) ใน RAM บนเมนบอร์ด
บนเมนบอร์ด ปกติแล้วจะมีสล็อตหรือช่องสำหรับใส่แรม 4 ช่อง ซึ่งจะแบ่งเป็น A1 , A2 , B1 และ B2 ก่อนนำมาใช้งาน ควรตรวจสอบให้ดีก่อนว่าต้องติดตั้งอย่างไร หากเป็นเมนบอร์ดที่มีช่องเสียบ 4 ช่อง จะต้องเสียบในช่อง A1 และช่อง B1 ก่อน เพื่อให้แรมทำงานในรูปแบบ Dual Channel
RAM สูงสุดเท่าไหร่ ดูยังไง ?
สามารถดูความจุ RAM สูงสุดที่รองรับได้จากคู่มือเมนบอร์ด หรือเว็บไซต์ผู้ผลิต เมนบอร์ด / โน้ตบุ๊ก นอกจากนี้ โปรแกรม เช่น CPU-Z หรือ Speccy จะแสดงรายละเอียดของสล็อตและความจุที่รองรับได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ แนะนำให้ดูประเภทแรมที่เข้ากันได้ เช่น DDR3 , DDR4 หรือ DDR5 เพื่อความไม่เข้ากัน และหากต้องการอัพเกรดแรม ควรใส่คู่ที่มีความเร็วและความจุเท่ากัน เพื่อประสิทธิภาพที่สูงสุด
สรุป
หากจะซื้อ RAM สักคู่ หวังว่าคงจะเลือกกันได้แล้วว่าต้องซื้อตัวไหนถึงจะตรงกับความต้องการ ไม่เพียงแต่ให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างปกติเท่านั้น แต่หากซื้อแรมไม่ตรงกับการใช้งาน ก็อาจส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าลง และไม่สามารถเปิดบางโปรแกรมได้เลย ดังนั้น ก่อนซื้อควรพิจารณาให้ดีก่อนว่าจริง ๆ แล้วนำคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คมาทำอะไร เพื่อที่จะได้เลือกแรมที่มีสเปกตรงตามต้องการ
* เนื้อหาในบทความอาจมีผิดพลาดได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง